ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แปลก พิบูลสงคราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = แปลก พิบูลสงคราม
| honorific-prefix = [[จอมพล (ประเทศไทย)|จอมพล]]
| honorific-suffix = <br>[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์|น.ร.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์|ร.ว.]], [[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ม.ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ม.ว.ม.]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8|อ.ป.ร.1]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9|ภ.ป.ร.1]]
| image = Field Marshal Plaek Phibunsongkhram (coloured version).jpg|250px
| caption =
| order = [[นายกรัฐมนตรีไทย]]
| term_start = 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
| term_end = 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487<br>({{อายุปีและวัน|2481|12|16|2487|08|1}})
| monarch = [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]
| predecessor = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| successor = [[ควง อภัยวงศ์]]
| term_start2 = 8 เมษายน พ.ศ. 2491
| term_end2 = 16 กันยายน พ.ศ. 2500<br>({{อายุปีและวัน|2491|04|08|2500|09|16}})
| monarch2 = [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
| predecessor2 = [[ควง อภัยวงศ์]]
| successor2 = [[พจน์ สารสิน]]
| lieutenant2 = [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]
| order3 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]]
| term_start3 = 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481
| term_end3 = 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
| primeminister3 = ตัวเอง
| predecessor3 = [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]]
| successor3 = [[หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)|หลวงเชวงศักดิ์สงคราม]]
| order4 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]]
| term_start4 = พ.ศ. 2485
| term_end4 = 2485
| primeminister4 = ตัวเอง
| predecessor4 = [[สินธุ์ กมลนาวิน]]
| successor4 = [[ประยูร ภมรมนตรี]]
| order5 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]
| term_start5 = 22 กันยายน พ.ศ. 2477
| term_end5 = 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484<br>({{อายุปีและวัน|2477|09|22|2484|08|19}})
| primeminister5 = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]]<br>ตัวเอง
| predecessor5 = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| successor5 = [[มังกร พรหมโยธี]]
| order6 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]
| term_start6 = 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482
| term_end6 = 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
| primeminister6 = ตัวเอง
| predecessor6 = [[เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา)|เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ]]
| successor6 = [[ดิเรก ชัยนาม]]
| order7 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์]]
| term_start7 = 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
| term_end7 = 23 มีนาคม พ.ศ. 2497
| primeminister7 = ตัวเอง
| predecessor7 = [[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)|นายวรการบัญชา]]
| successor7 = [[ศิริ สิริโยธิน]]
| order8 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]]
| term_start8 = 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492
| term_end8 = 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493
| primeminister8 = ตัวเอง
| predecessor8 = [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย|พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย]]
| successor8 = [[พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน)|พระมนูภาณวิมลศาสตร์]]
| order9 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม]]
| term_start9 = 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
| term_end9 = 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498
| primeminister9 = ตัวเอง
| predecessor9 = ''สถาปนาตำแหน่ง''
| successor9 = [[หลวงสุนาวินวิวัฒ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)|หลวงสุนาวินวิวัฒ]]
| order10 = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์]]
| term_start10 = 12 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_end10 = 16 กันยายน พ.ศ. 2500
| primeminister10= ตัวเอง
| predecessor10 = [[ศิริ สิริโยธิน]]
| successor10 = [[วิบูลย์ ธรรมบุตร]]
| order12 = [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]]
| term_start12 = 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
| predecessor12 = ''สถาปนาตำแหน่ง''
| term_end12 = 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
| successor12 = [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]
| order14 = [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]]
| term_start14 = 4 มกราคม พ.ศ. 2481
| term_end14 = 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487<br>({{อายุปีและวัน|2481|01|04|2487|08|05}})
| predecessor14 = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| successor14 = [[พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต]]
| term_start15 = 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
| term_end15 = 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491
| predecessor15 = [[อดุล อดุลเดชจรัส]]
| successor15 = [[ผิน ชุณหะวัณ]]
| term_start16 = 4 มกราคม พ.ศ. 2481
| term_end16 = 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487
| predecessor16 = [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]]
| successor16 = [[พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต]]
| birth_date = 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
| birth_place = [[จังหวัดนนทบุรี]] [[ประเทศสยาม]]
| death_date = 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (66 ปี)
| death_place = [[ซางามิฮาระ]] [[จังหวัดคานางาวะ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]]
| party = [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] (พ.ศ. 2498)
| otherparty = [[คณะราษฎร]] (พ.ศ. 2470–2497)
| spouse = [[ละเอียด พิบูลสงคราม]]
| signature = Signature of Plek Pibulsongkram.svg
| footnotes =
|rank = [[ไฟล์:RTA OF-10 (Field Marshal).svg|15px]] [[จอมพล]] <br> [[ไฟล์:RTN OF-10 (Admiral of the Fleet).svg|15px]] จอมพลเรือ <br> [[ไฟล์:RTAF OF-10 (Marshal of the Royal Thai Air Force).svg|15px]] จอมพลอากาศ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/981.PDF ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ 28 กรกฎาคม 2484]</ref><br> [[ไฟล์:นายกองใหญ่.jpg|15px]] นายกองใหญ่<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/046/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 21 มิถุนายน 2499]</ref>
|allegiance = {{flagicon image|State Flag of Thailand (1916).svg}} ประเทศสยาม <br> {{flagicon|Thailand}} ประเทศไทย
|branch = {{flagicon image|Flag of the Royal Thai Army.svg}} [[กองทัพบกไทย]]<br>[[ไฟล์:Emblem of the Royal Thai Armed Forces_HQ.svg|25px]][[กองทัพไทย]]
|serviceyears = พ.ศ. 2459 – 2500
|commands = [[กองทัพบกไทย]]<br>[[กองบัญชาการทหารสูงสุด]]<br>[[กองอาสารักษาดินแดน]]
|battles = [[กบฏบวรเดช]]<br>[[กรณีพิพาทอินโดจีน]]<br>[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]<br>[[กบฏวังหลวง]]
}}

[[ไฟล์:ปูนปั้นรูปหัวไก่.jpg|thumb|ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายใน[[ทำเนียบรัฐบาลไทย|ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล]] มีการสันนิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี]]
[[ไฟล์:จอมพลป. พิบูลสงคราม ในปี 2484.jpg|thumb|200px|จอมพล ป. เดินตรวจแถวและทักทายทหารที่จะไปร่วมรบใน[[กรณีพิพาทอินโดจีน|สงครามอินโดจีน]]]]
[[ไฟล์:Plaek Pibulsonggram.jpg|thumb|200px|[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]]
จอมพล<!-- ยึดตามเอกสารที่เรียกเป็นประจำ รู้ครับว่าเป็นจอมพลทุกเหล่าทัพ --> '''แปลก พิบูลสงคราม''' (14 กรกฎาคม 2440 – 11 มิถุนายน 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "'''ป. พิบูลสงคราม'''" เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]]ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/022/2.PDF</ref> มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "[[รัฐนิยม]]" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การ[[รำวง]], ก๋วยเตี๋ยว[[ผัดไทย]] เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "[[ประเทศสยาม]]" เป็น "[[ประเทศไทย]]" และเป็นผู้เปลี่ยน "[[เพลงชาติไทย]]" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

[[คำขวัญ]]ที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ ''"เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"'' หรือ ''"ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย"'' และ ''"ไทยอยู่คู่ฟ้า"'' ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทาง[[ชาตินิยม|เชื้อชาตินิยม]]

== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
=== วัยเด็ก ===
=== วัยเด็ก ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:27, 10 กรกฎาคม 2563

ประวัติ

วัยเด็ก

จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีชื่อเดิมว่า "แปลก ขีตตะสังคะ" ชื่อจริงคำว่า "แปลก" เนื่องจากเมื่อแรกเกิดบิดามารดาเห็นว่าหูทั้งสองข้างอยู่ต่ำกว่าตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงให้ชื่อว่า แปลก

แปลก ขีตตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 บิดาชื่อ นายขีด และมารดา ชื่อ นางสำอางค์ ในสกุล ขีตตะสังคะ บ้านเกิดเป็นเรือนแพขนาดใหญ่ 2 ชั้น ที่ปากคลองบางเขนเก่า ตรงข้ามวัดปากน้ำไม่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และ วัดเขมาภิรตาราม อำเภอเมืองนททบุรี จังหวัดนนทบุรี อาชีพครอบครัว ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนทุเรียนและสวนผลไม้

เด็กชายแปลก ขีตตะสังคะ เป็นบุตรคนที่สองในพี่น้อง 5 คน พี่ชาย คนโตชื่อ "ประกิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี) คนที่สามเป็นหญิงชื่อ "เปลี่ยน" คนที่สี่เป็นชายชื่อ "ปรุง" คนสุดท้ายชื่อ "ครรชิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี)

การศึกษา

การเข้าสู่อาชีพทหาร

เขาเข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2452 อายุได้ 12 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยบิดาขอร้องให้ พล.ต.พระยาสุรเสนาช่วยนำฝากเข้าเรียนพร้อมกับพี่ชาย "ประกิต" ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยเป็นเวลา 6 ปี (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) ได้เป็น"นักเรียนทำการนายร้อย" เมื่ออายุได้ 18 ปี (9 พ.ค. 2458) สังกัด "เหล่าปืนใหญ่" โดยได้เป็น "ว่าที่ร้อยตรี" (1 พ.ย. 2458)

การสมรส

ไฟล์:ละเอียด-แปลก-จีรวัสส์.jpg
(จากซ้ายไปขวา) พันโทหญิง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม และว่าที่ร้อยตรีหญิงจีรวัสส์ พิบูลสงคราม

นักเรียนทำการนายร้อยว่าที่ร้อยตรีแปลก เข้าประจำการเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก และไม่นานนักได้พบรักกับท่านละเอียด พิบูลสงคราม (ขณะนั้นสกุล พันธ์กระวี) ซึ่งเป็น "นักเรียนชั้นสูงสุดเพียงคนเดียว" ในโรงเรียนผดุงนารี โรงเรียนของคณะมิชชันนารี และเป็นโรงเรียนหญิงแห่งแรกของพิษณุโลก ทั้งทำหน้าที่ "ครูฝึกหัด" ฝึกหัดสอน "ชั้นเล็ก ๆ" ในโรงเรียนแห่งนี้ด้วย ไม่นานนักทั้งสองก็ทำพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2459 เมื่อว่าที่ร้อยตรีแปลกอายุย่างเข้า 20 ปี ท่านผู้หญิงละเอียดย่างเข้า 15 ปี มีบุตร 6 รายได้แก่ พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม พลเรือโท ประสงค์ พิบูลสงคราม ร้อยเอกหญิง จีรวัสส์ ปันยารชุน รัชนิบูล ปราณีประชาชน พัชรบูล เบลซ์ นิตย์ พิบูลสงคราม

อาชีพทหาร – การศึกษา

จอมพล ป. ในวัยหนุ่ม

หลังการแต่งงานได้ 3 เดือนและเป็นนักเรียนทำการนายร้อยเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกครบ 2 ปี ก็ได้รับยศเป็น "ร้อยตรี" (23 พ.ค. 2460) และย้ายเข้ากรุงเทพเพื่อศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ที่บางซื่อตามระเบียบการศึกษา โดยพาครอบครัวมาด้วย การศึกษา 2 ปีใน โรงเรียนแห่งนี้แต่ละปีประกอบด้วย 6 เดือนแรกเรียนประจำอยู่ ณ ที่ตั้ง 4 เดือนถัดมาไปฝึกในสนามยิงปืนโคกกระเทียม ลพบุรี อีก 2 เดือนท้าย ซ้อมรบในสนามต่างจังหวัด

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ ได้กลับกรมต้นสังกัดประจำการที่ปืน 7 พิษณุโลก แต่ไม่นานนักก็ได้ย้ายมาประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (1 ส.ค. 2462) ในตำแหน่งนายทหารสนิทของผู้บังคับบัญชากรม พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ปีถัดมาได้รับยศ "ร้อยโท" (24 ม.ย 2463)

1 เมษายน พ.ศ. 2464 นายร้อยโทแปลกได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นรุ่นที่ 10 หลักสูตรการศึกษา 2 ปี โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเป็นโรงเรียนนายทหารขั้นสูงที่มีนายทหารจำนวนมากประสงค์เข้าศึกษาต่อ แต่โรงเรียนนี้รับนักเรียนได้ประมาณรุ่นละ 10 นาย และนักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของรุ่นจะได้รับทุนไปศึกษาวิชาการเพิ่มเติมที่ต่างประเทศ ในรุ่นของนายร้อยโทแปลกมีผู้สอบไล่ผ่านในปีที่ 2 เพียง 7 นาย และนายร้อยโทแปลกสอบไล่ได้เป็นลำดับที่ 1 ของรุ่นในปีสุดท้ายนี้

การศึกษาที่ฝรั่งเศส

เมื่อจบการศึกษา นายร้อยโทแปลกได้ย้ายไปประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก (1 มี.ค. 2466) และปีถัดมาได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ ต่อที่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเดินทางไปเรือลำเดียวกับนายร้อยตรีทัศนัย มิตรภักดี นายทหารม้าได้รับทุนไปศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน

การศึกษาในประเทศฝรั่งเศสประมาณ 3 กว่าปีนั้น นายร้อยโทแปลกเริ่มต้นด้วย 8 เดือนแรกเรียนภาษาฝรั่งเศสกับครอบครัวนายโมเร็ล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2467 จึงศึกษาวิชาคำนวณที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีส และเรียนภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมที่ L'ecole alliance française หลังจากนั้นได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ (École d'application de l'artillerie) ที่เมืองฟงแตนโบล สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร และได้เข้าร่วมการประลองยุทธ ณ ค่าย Valdahon (Doubs) ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ต่อมาแปลกในยศร้อยเอกได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม เมื่อพ.ศ. 2471[1]

ชีวิตและบทบาททางการเมือง

คณะราษฎร

พันตรีหลวงพิบูลสงครามเป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารปืนใหญ่ รุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งซึ่งมีทั้งหมด 7 คน ตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยถือเป็นผู้นำของคณะทหารบกยศชั้นผู้น้อย

ซึ่งก่อนหน้านั้นระหว่างมีการประชุมกันครั้งแรกของคณะราษฎรที่ยาวนานติดต่อกัน 4 คืน 5 วัน ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อต้นปี พ.ศ. 2469 ร้อยโทแปลกที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ ได้เรียกว่า "กัปตัน" และยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม[2] ได้เสนอว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วให้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แต่ทางนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ได้คัดค้าน โดยยกเหตุผลว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศเหมือนเช่นการปฏิวัติรัสเซีย[3] และการปฏิวัติแห่งอังกฤษ

แปลกเกิดตรงกับในวันชาติฝรั่งเศสด้วย เมื่อมีการเลิกระบบบรรดาศักดิ์ในพ.ศ. 2485 ได้ใช้ชื่อว่า ป. ซึ่งเป็นตัว อักษรย่อเฉกเช่นชื่อของบุคคลสำคัญหลายคนทางประเทศแถบตะวันตก[4]

การเดินทางในประเทศเยอรมนี

ขณะนายร้อยโทแปลกได้ศึกษาในประเทศฝรั่งเศส นายร้อยโทแปลกได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเยอรมนีซึ่งขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ นายร้อยโทแปลกได้เดินทางไปยังดินแดนไรน์ลันท์ ซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพสัมพันธมิตรและซาร์ลันท์ซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส

การรับราชการ

หลังจากจบการศึกษาในฝรั่งเศส นายร้อยโทแปลกได้กลับมารับราชการ ในปี พ.ศ. 2470 นายร้อยโทแปลกได้เดินทางกลับเข้าประเทศไทยและเข้าประจำสังกัดเดิมและได้รับเลื่อนยศเป็น "ร้อยเอก" ปีถัดมาย้ายไปดำรงตำแหน่ง "หัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นกำลังสำคัญในสายทหารบก และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล) ได้ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แก่พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยหลวงพิบูลสงครามเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ใช้ว่า จอมพลแปลก พิบูลสงคราม[5] ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จอมพล ป. เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเป็นแกนนำในการรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ในการปราบกบฏบวรเดช เมื่อปี พ.ศ. 2476 จนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรีไทยในเวลาต่อมา

การขึ้นสู่อำนาจ

พ.อ.พระยาทรงสุรเดช

อีกทั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางจอมพล ป. ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่ แต่ทางฝ่าย พ.อ.พระยาทรงสุรเดชไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า แล้วทางจอมพล ป. มีแผนอะไร และไม่ยอมตอบว่าตนมีแผนสำรองอะไร ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว จอมพล ป. ได้ปรารภกับนายทวี บุณยเกตุ สมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้ ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนากลายมาเป็นความขัดแย้งกันระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2482[3]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก

นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักด์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน ตามโบราณราชประเพณีพระราชจักรีวงศ์ เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักโลกตะวันตก โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน

มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่าง ๆ อาทิ สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า "มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ" หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ และยังวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน, ท่าน, เรา มีคำสั่งให้ข้าราชการไทยกล่าวคำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่พบกัน และมีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกันจึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เขียนเป็น กระซวงสึกสาธิการ เป็นต้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาแม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ตาม "รัฐนิยม" อีกต่อไป และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ไปแล้ว[6]

ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากปัญหาเรื่องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีน ซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงเรื่องการใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองนครพนม การรบระหว่างฝรั่งเศสกับไทยจึงเริ่มขึ้น ฝรั่งเศสโจมตีไทยทางอรัญประเทศ รัฐบาล จอมพล ป. ส่งทหารไทยเข้าไปในอินโดจีนทางด้านเขมร แต่ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย จนมีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมทั้งทางใต้ตรงข้ามปากเซ คือ แขวงจัมปาศักดิ์ และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 กลับคืนมาด้วย และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศส และ 1 ปีต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485

หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน จอมพล.ป ได้ประกาศให้ประเทศไทยดำรงสถานะเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจนกระทั่งญี่ปุ่นทำการยกพลขึ้นบกเพื่อขอทางผ่านไปโจมตีพม่าและมาเลเซีย จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตจึงประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและเข้าร่วมฝ่ายอักษะ[7] ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ[7] ในระหว่างสงครามจอมพล ป. ได้ทำการตกลงช่วยเหลือญี่ปุ่นด้านการรบ เพราะหวังว่าจะได้ดินแดนเพิ่มเติมเข้ามาครอบครอง โดยประเทศไทยได้รับจังหวัดมาลัย อีกทั้งได้ส่งกองทัพพายัพเข้าดินแดนบางส่วนของพม่าจัดตั้งสหรัฐไทยเดิม หลังสงครามถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ ที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและเนือร์นแบร์กพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ที่เป็นคนไทยรอดพ้นจากโทษประหารชีวิตทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัวเป็นอิสระ หลังจากนั้นก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพอดมื้อกินมื้อ

โดยจอมพลแปลกได้ถูกให้ออกจากประจำการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 [8]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในครั้งหลัง

แต่แล้วด้วยความผกผันทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2491 ท่านก็ได้หวนกลับมาคืนสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการทำรัฐประหารของกลุ่มนายทหารที่นับถือการรบชนะฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ คราวนี้ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น กบฏเสนาธิการ, กบฏวังหลวง, กบฏแมนฮัตตัน รวมทั้งยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย จึงได้รับฉายาในช่วงที่ยังไม่หลุดจากอำนาจว่า "โจโฉ นายกฯตลอดกาล"[9]

จอมพล ป. ได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "จอมพลกระดูกเหล็ก" เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง[10] แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ในปี พ.ศ. 2494 ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่เคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ในเย็นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อถูก ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายทหารรุ่นน้องที่ไว้ใจและมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ กระทำการรัฐประหาร ซึ่งได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าพิบูลสงครามเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อญี่ปุ่น[10] เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม

ความขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์

หลังจากจอมพล ป.ทำรัฐประหารในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดย หลังการรัฐประหาร จอมพล ป. ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจ พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ จอมพล ป. ยังได้ จำกัดชีวิตส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้อยู่แต่เฉพาะในพระนคร และวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 จอมพล ป. ได้จัดให้พระองค์และ สมเด็จพระบรมราชินี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จเยือนภาคอีสานโดยทางรถไฟ ผลปรากฏชัดว่าพระองค์เป็น ที่นิยมของประชาชนจำนวน มาก ดังนั้น จอมพล ป. จึงได้ตัดงบประมาณในการเสด็จ ครั้งต่อไป [11] โดยเฉพาะในโอกาสฉลองพุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500[12][13] รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมปีดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพลแปลกว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น[14]

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลแปลกได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล[15] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพลแปลกว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพลแปลกปฏิเสธ[16] เย็นวันดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[17] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการฉบับหลังมีความว่า

ทั้งนี้ ภายหลังรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์ตอบสัมภาษณ์กับนักข่าวต่างประเทศที่ถามว่าได้กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวเรื่องรัฐประหารก่อนหรือไม่ เขาตอบว่า ท่าน (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ) จะว่าอะไรได้ก็เรื่องมันเสร็จไปหมดแล้ว[18]

บั้นปลายชีวิต

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี โดยก่อนตาย ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่ความตายอย่างกะทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แม้ครั้งหนึ่งทั้งคู่จะเคยเป็นศัตรูทางการเมืองกันมาก่อนก็ตาม แต่ทว่าในเวลานั้นทั้งคู่ต่างก็หมดอำนาจและต้องลี้ภัยในต่างประเทศด้วยกัน แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็มีการติดต่อกันทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับแทนชื่อในการติดต่อกัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กระทำการรัฐประหารจอมพล ป. ไปเมื่อปี พ.ศ. 2500 ก็ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2506 จึงมีการคาดหมายว่า อีกไม่นานทั้งจอมพล ป. และนายปรีดีจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะนายปรีดีจะกลับมาแก้ข้อกล่าวหาในคดีสวรรคต และทั้งคู่จะร่วมกันรื้อฟื้นอำนาจทางการเมืองทางสายของคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หมดบทบาทไปเลยอย่างสิ้นเชิงจากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์)[19]

ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ในปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ[20]

บทบาททางสังคม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศหลายองค์กร ที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน), มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยบูรพา(วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ก่อนจะมาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ออกมาสู่ภูมิภาค เป็นแห่งแรก) รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม, วังสวนกุหลาบ, บ้านมนังคศิลา, บ้านพิษณุโลก, บ้านนรสิงห์ เป็นต้น

ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ

หลังจากความคิดของเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในช่วงปี พ.ศ. 2473-พ.ศ. 2475 ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ว่าต้องการที่จะให้ประเทศสยาม มีกิจการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 เป็นผลต้องประสบความล้มเหลวในขณะนั้น[21] อย่างไรก็ดีโทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว"

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลมอบหมายให้ กรมประชาสัมพันธ์เสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีลงมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและให้ตั้งงบประมาณใน พ.ศ. 2494

ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. เขียนข้อความด้วยลายมือ ถึง พล.ต.สุรจิต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ให้ศึกษาจัดหาและจัดส่ง "Television"

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ต่อมาออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 3 ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปี พ.ศ. 2561 และในขณะนี้ใช้ชื่อว่า เอ็มคอตเอชดี ปัจจุบันออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 5 ช่อง 40 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในระบบดิจิตอล ความคมชัดละเอียดสูง ทางช่องหมายเลข 30)(ก่อนหน้านี้ สถานีเคยออกอากาศคู่ขนานกันทั้งสองระบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปี พ.ศ. 2561)

ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน

บ้านพักคนชรา

บ้านพักคนชราบางแค หรือ บ้านบางแค เดิมใช้ชื่อว่า "สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ โดยเริ่มเปิดดำเนินการในสมัยของนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์[22] ปัจจุบันอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิบ้านบางแคในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

อัตลักษณ์เชิงทางการเมือง

การสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองของจอมพล ป. ได้มีการสร้างอัตลักษณ์ผ่าน"ไก่" โดยไก่นั้นคือกับปีระกาซึ่งเป็นปีนักษัตรที่จอมพล ป. เกิดตรงกันพอดี โดยสัญลักษณ์ไก่นั้น ได้ถูกสื่อออกมาผ่านตราต่างๆ เช่น ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม หรือปูนปั้นรูปหัวไก่ ที่ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล หรือแม้กระทั่งจาน ชาม เก้าอี้ หัวจดหมาย ฯลฯ เพื่อเป็นการสื่อถึงอำนาจบารมีของจอมพล ป. โดยลักษณะตราไก่นั้นมีความคล้ายคลึงกับตราครุฑ (บางข้อมูลได้กล่าวไว้ว่ามีความคล้ายคลึงกับตราแผ่นดินไรซ์ที่สาม ของนาซีเยอรมันในสมัยนั้นเช่นกัน) ทำให้มีหลายๆคน เช่นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ซึ่งเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มองว่าจอมพล ป. พยายามจะทำตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง

ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยนาม

  1. จังหวัดพิบูลสงคราม อดีตจังหวัดของประเทศไทย
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
  3. หอประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
  4. โรงเรียนชุมชนพิบูลสงคราม จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. โรงเรียนพิบูลสงครามอุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี
  6. ถนนพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี
  7. โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม(พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร
  8. โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
  9. โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์๑ จังหวัดลพบุรี
  10. โรงเรียนค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  11. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
  12. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  13. สนามยิงปืนพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  14. โรงเรียนนครหลวง(พิบูลประเสริฐวิทย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  15. ค่ายพิบูลสงคราม กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  16. พิพิธภัณฑ์จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  17. สนามกอล์ฟ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายในมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี
  18. โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร
  19. โรงเรียนหินกอง(พิบูลอนุสรณ์) จังหวัดสระบุรี
  20. โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล จ.ฉะเชิงเทรา

เกียรติยศและบำเหน็จความชอบ

ยศทหาร

  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470: ร้อยเอก[23]
  • ไม่ทราบ: พันตรี
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2476: พันโท[24]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477: พันเอก[25]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478: นาวาเอก[26]
  • 12 มีนาคม พ.ศ. 2479: นาวาอากาศเอก[27]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี [28]
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484: จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ[29]

บรรดาศักดิ์

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพิบูลสงคราม[1]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485: ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์[30]

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

จอมพล หลวงพิบูลสงคลาม (แปลก พิบูลสงคราม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ดังนี้

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
 ไรช์เยอรมัน พ.ศ. 2482 เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้น 1 [45]
 อิตาลี พ.ศ. 2482 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซารัส ชั้นสูงสุด รับพระราชทานจากพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี [46]
 บริเตนใหญ่ พ.ศ. 2482 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นสูงสุด รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร [47]
 ญี่ปุ่น พ.ศ. 2485 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 [48]
 ฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสูงสุด
 ฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยาภรณ์ลากานดู ชั้นสูงสุด
 สหรัฐ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ลีเจียนออฟเมอริต หัวหน้าผู้บัญชาการ รับพิธีประดับอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ณ กระทรวงกลาโหม กรุงวอชิงตัน
 เปรู พ.ศ. เครื่องอิสริยาภรณ์พระอาทิตย์แห่งเปรู
 ออสเตรีย พ.ศ. เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
 สเปน พ.ศ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณทหารแห่งสเปน ชั้น อัศวินมหากางเขน
 สเปน พ.ศ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชินีนาถอีซาเบล ชั้น อัศวินมหากางเขน
 อินโดนีเซีย พ.ศ. เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 580
  2. หน้า 163, เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ โดย นายหนหวย (พ.ศ. 2530, จัดพิมพ์จำหน่ายโดยตัวเอง)
  3. 3.0 3.1 สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 26 กรกฎาคม 2555
  4. รายการยกสยาม: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  6. โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน
  7. 7.0 7.1 หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง
  8. เรื่องให้นายทหารออกจากประจำการ
  9. คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 เดลินิวส์ฉบับวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  10. 10.0 10.1 หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขนาน โดย วินทร์ เลียววาริณ, (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2540) ISBN 9748585476
  11. สิทธิพล เครือรัฐติกาล (2015). สถาบันพระมหากษัตริย์กับนโยบายต่างประเทศของไทยยุคสงครามเย็น. ฟ้าเดียวกัน. pp. Page ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 น.163.
  12. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. pp. Page 129–130, 136–137. ISBN 0-300-10682-3.
  13. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand. pp. Page 98.
  14. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand, Page 98. (อังกฤษ)
  15. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press. pp. Page 30. ISBN 967-65-3053-0.
  16. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press, Page 30. ISBN 967-65-3053-0. (อังกฤษ)
  17. พระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกษาทั่วราชอาณาจักร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอน 76). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF. (4 มิถุนายน 2551).
  18. นิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 20-26 ก.ค. 2561. 2561. p. 55.
  19. หนังสืออำนาจ ๒ โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ (มีนาคม, พ.ศ. 2555) ISBN 978-616-536-079-1
  20. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554" (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3
  21. เมื่อเริ่มกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย จากบล็อก โอเคเนชั่น
  22. ประวัติความเป็นมาของบ้านบางแค
  23. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  24. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  25. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  26. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  27. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารอากาศ
  28. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ (นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม), เล่ม ๕๘, ตอน ๐ก, ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๙๘๑
  30. "พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (33ก): 1089. 15 พฤษภาคม 2485. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. 31.0 31.1 ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/985.PDF พระบรมราชโองการ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และปฐมจุลจอมเกล้า เล่ม 58, 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484, หน้า 985
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙, ตอน ๒๔ ง, ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕, หน้า ๙๗๑
  33. ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 57 หน้า 947
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔, ,๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐, หน้า ๒๒๑๓
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๖๑ ตอน ๒๖ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๗, หน้า ๗๑๗
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๗ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๘๑๐
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอน ๔๒ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๒๕๐๔
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม 51, 30 กันยายน 2477, หน้า 2079.
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๕๑, ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๓๑๕๖
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา , เล่ม ๖๐ ตอน ๖๕ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๓๑๕๖
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน , เล่ม ๖๐ ตอน ๔๓ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๒๕๘๙
  42. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน , เล่ม ๗๔ ตอน ๕๙ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐, หน้า ๑๖๔๘
  43. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๒๙๕๘
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๑๐ ง, ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๕๒๙
  45. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่มที่ 56 หน้า 3594 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2462
  46. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 0 ง, เล่ม 56, 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482, หน้า 2556
  47. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 0 ง, เล่ม 56, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2482, หน้า 2650
  48. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 3374 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
  1. การปรับปรุงภาสา [1]
  2. ประมวลรัฐนิยม เล่ม 1 [2]

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า แปลก พิบูลสงคราม ถัดไป
พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีไทย
สมัยที่ 1

(16 ธันวาคม พ.ศ. 24811 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
ควง อภัยวงศ์
ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีไทย
สมัยที่ 2

(8 เมษายน พ.ศ. 249116 กันยายน พ.ศ. 2500)
พจน์ สารสิน
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 1

(21 ธันวาคม พ.ศ. 248122 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
หลวงเชวงศักดิ์สงคราม
ควง อภัยวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 2

(15 เมษายน พ.ศ. 249125 มิถุนายน พ.ศ. 2492)
มังกร พรหมโยธี
หลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สมัยที่ 3

(2 สิงหาคม พ.ศ. 249726 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
เผ่า ศรียานนท์
หลวงสินธุสงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2485)
ประยูร ภมรมนตรี
พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(22 กันยายน พ.ศ. 247719 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
พลเอก มังกร พรหมโยธี
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 1

(14 กรกฎาคม พ.ศ. 248222 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
ดิเรก ชัยนาม
ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยที่ 2

(15 ธันวาคม พ.ศ. 248419 มิถุนายน พ.ศ. 2485)
หลวงวิจิตรวาทการ
(วิจิตร วิจิตรวาทการ)
นายวรการบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 249723 มีนาคม พ.ศ. 2497)
ศิริ สิริโยธิน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(13 ตุลาคม พ.ศ. 249218 กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
พระมนูภาณวิมลศาสตร์
(ชม จามรมาน)
สถาปนาตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(24 มีนาคม พ.ศ. 24952 สิงหาคม พ.ศ. 2498)
หลวงสุนาวินวิวัฒน์
(พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)
ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
(12 กันยายน พ.ศ. 250016 กันยายน พ.ศ. 2500)
วิบูลย์ ธรรมบุตร
สถาปนาตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สมัยที่ 1

(13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 30 เมษายน พ.ศ. 2484)
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สมัยที่ 2

(12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 2

(9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491)
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ผู้บัญชาการทหารบก
สมัยที่ 1

(4 มกราคม พ.ศ. 2481 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์
แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัยที่ 1

(24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า
รัชฎาภิเศก โสณกุล
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า
รัชฎาภิเศก โสณกุล
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัยที่ 2

(21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์
สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ (รักษาการ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(19 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 26 กันยายน พ.ศ. 2500)
ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ
(รักษาการ)
ไม่มี นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 1
(พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2500)
จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 1)