พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง | 17 มกราคม พ.ศ. 2465 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2472 |
ดำรงตำแหน่ง | 9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
ประสูติ | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419 |
สิ้นพระชนม์ | 6 มกราคม พ.ศ. 2476 (56 ปี) |
หม่อม |
|
บุตร |
|
ราชสกุล | เกษมศรี |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ |
พระมารดา | หม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา |
ลายพระอภิไธย |
มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (พระนามเดิม หม่อมเจ้าเณร; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419 — 6 มกราคม พ.ศ. 2476) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเณร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419 ทรงศึกษาในพระตำหนักสวนกุหลาบ กระทั่งพระชันษาได้ 17 ปี ทรงเข้ารับราชการในกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทำหน้าที่ตั้งแต่เสมียนจนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี เมื่อปี พ.ศ 2464 ได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
พระประวัติรับราชการ
[แก้]ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลอง และรองเสนาบดีของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีเป็นสมัยแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2465 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2472 และสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาป้องกันราชอาณาจักร สภาการคลัง สภาเผยแพร่พาณิชย์ สภากรรมการรักษาระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อทรงออกจากราชการ ได้ประมาณ 6 - 7 เดือน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ประชวรพระโรคปับผาสะ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2475 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2476)[1] ที่วังถนนบริพัตร สิริพระชันษา 57 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระศพ และพระราชทานพระโกศไม้สิบสองทรงพระศพ
พระโอรส-ธิดา
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสกสมรสกับหม่อมขาว (สกุลเดิม สุวนันท์) ต่อมาได้เสกสมรสกับหม่อมนวม (สกุลเดิม เสขรฤทธิ์) และหม่อมพิง (สกุลเดิม สุรนันท์) มีพระโอรส-ธิดารวม 6 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์ประพฤทธิ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์ประภาศิริ เกษมศรี
- หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี) (30 มีนาคม พ.ศ. 2446 — 25 กันยายน พ.ศ. 2513)
- หม่อมราชวงศ์ศศิโฉม เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี (1 มีนาคม พ.ศ. 2452 — 2 กันยายน พ.ศ. 2511)
- ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี (21 มกราคม พ.ศ. 2454 — 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545)
พระยศ
[แก้]พระยศพลเรือน
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[7]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[8]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 49, ตอน 0 ง, 15 มกราคม พ.ศ. 2475, หน้า 3501
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๒, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๑, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๘, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๖, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘
- Jeffary Finestone. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ : บริษัทกู๊ดวิว เพรส จำกัด, พ.ศ. 2543. 394 หน้า. หน้า หน้าที่28.
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ | เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (17 มกราคม พ.ศ. 2465 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2472 9 เมษายน - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475) |
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) | ||
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) |