สมพัฒน์ แก้วพิจิตร
สมพัฒน์ แก้วพิจิตร ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ถัดไป | ชาติชาย พุคยาภรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
เสียชีวิต | 19 มกราคม พ.ศ. 2556 (51 ปี) จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรค | ชาติไทย |
คู่สมรส | นางกนกวลี แก้วพิจิตร |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 — 19 มกราคม พ.ศ. 2556) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย
นายสมพัฒน์ เป็นพี่ชายของ พันโท สินธพ แก้วพิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม
ประวัติ[แก้]
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ (M.BA.) จากมหาวิทยาลัยแซมฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้านครอบครัวสมรสกับนางกนกวลี แก้วพิจิตร มีบุตร 3 คน
การทำงาน[แก้]
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เริ่มทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมเวล ในจังหวัดนครปฐม จากนั้นจึงเริ่มมีกิจการของตนเองคือ บริษัท ดาวอรพรรณ จำกัด บริษัท สหพัฒนพันธุ์ จำกัด และบริษัท สหอรพรรณ จำกัด[1] ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2538 และตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543
ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[2] และพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีคณะดังกล่าวสิ้นสภาพเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี พ้นสภาพ แต่สมพัฒน์ แก้วพิจิตร ยังคงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เดิมในคณะรัฐมนตรีคณะต่อมา ซึ่งนำโดยสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3]
ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[4]
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
สมพัฒน์ แก้วพิจิตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการไขมันอุดตันเส้นเลือดหัวใจ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 ที่ห้องพักในโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างที่นายสมพัฒน์ ได้นำคณะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากจังหวัดนครปฐม ศึกษาดูงานที่จังหวัดเชียงใหม่[5][6] พิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ วัดพระงาม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รมช.เกษตรฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ แจงเหตุ" อดีตรมช.สมพัฒน์ "เสียชีวิต-ไขมัดอุดตันเส้นเลือดหัวใจ
- ↑ สมพัฒน์อดีตรมช.เกษตรเสียชีวิตแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครปฐม
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.