ถวิล รายนานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถวิล รายนานนท์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าดุสิต ศิริวรรณ
ถัดไปเรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์
สวัสดิ์ คำประกอบ
พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์
พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา
เกษม จาติกวณิช
ปรีดา กรรณสูต
พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์
ประมวล กุลมาตย์
พลเอก พร ธนะภูมิ
รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
สัญญา ธรรมศักดิ์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าพลเอก กฤษณ์ สีวะรา (ครั้งที่ 1)
พลเอก เล็ก แนวมาลี (ครั้งที่ 2)
ถัดไปพลอากาศโท อุสาห์ ชัยนาม (ครั้งที่ 1)
พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ครั้งที่ 2)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต27 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (72 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสหม่อมหลวงเพ็ญศรี รายนานนท์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
ประจำการ13 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515
ยศ พลเรือเอก

พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

ประวัติ[แก้]

พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของ นายร้อยเอก หลวงพลภัทรพิจารณ์ (ขำ รายนานนท์) และนางจันทร์ พลภัทรพิจารณ์

การศึกษา[แก้]

ก่อนเข้ารับราชการ[แก้]

หลังเข้ารับราชการ[แก้]

ครอบครัว[แก้]

พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ สมรสกับ หม่อมหลวงเพ็ญศรี รายนานนท์ ธิดาของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) และคุณหญิงแฉล้ม อุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์แฉล้ม อาภรณ์กุล) มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน คือ

  1. นายวีระ รายนานนท์
  2. นายวิทย์ รายนานนท์ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  3. นายวุฒิ รายนานนท์
  4. นางสาววิสาข์ รายนานนท์

ยศทหาร[แก้]

  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2472 เป็นนักเรียนนายเรือ
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 เป็นว่าที่นายเรือตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เป็นนายเรือตรี [1]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2479 เป็นนายเรือโท[2]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นนายเรือเอก[3]
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นนาวาตรี[4]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2488 เป็นนาวาโท[5]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นนาวาเอก[6]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นพลเรือจัตวา[7]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2503 เป็นพลเรือตรี [8]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 เป็นพลเรือโท[9]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เป็นพลเรือเอก[10]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ออกจากประจำการ

ตำแหน่งทางทหาร[แก้]

  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 สำรองราชการกองเรือรบ (ประจำเรือหลวงสุโขทัย)
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ (ประจำโรงเรียนชุมพลทหารเรือ)
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2478 สำรองราชการกองเรือรบ
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ต้นปีนเรือหลวงเสือทยานชล
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ต้นตอร์ปิโตเรือหลวงตราด
  • 3 เมษายน พ.ศ. 2480 สำรองราชการกองทัพเรือ (เพื่อไปศึกษาหลักสูตรวิชาเรือดำนำ ประเทศญี่ปุ่น)
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 นายทหารประจำเรือหลวงสินสมุทร
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ต้นเรือเรือหลวงวิรุณ
  • 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ผู้บังคับการเรือหลวงพรายชุมพล
  • 2 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ผู้บังคับการเรือหลวงมัจฉานุ
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการเรือหลวงเจ้าพระยา
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เสนาธิการหมวดเรือดำนำ
    • รักษาราชการผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองเรือยุทธการ
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2491 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ (เพื่อไปศึกษาหลักสูตรวิชานายทหารชั้นสูงและการปีน ประเทศอังกฤษ)
  • 13 กันยายน พ.ศ. 2494 ประจำกองบังคับการ กรมเสนาธิการทหารเรือ
  • 18 กันยายน พ.ศ. 2494 รักษาราชการหัวหน้าแผนกที่ 4 กรมเสนาธิการทหารเรือ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2496 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองเรือยุทธการ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498 รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำนำ
  • กันยายน พ.ศ. 2499 ทูตทหารเรือประจำประเทศญี่ปุ่น
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ผู้ช่วยทูตทหารเรือประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ประจำกรมกำลังพลทหารเรือ
  • 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ[11]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ[12]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 รองเสนาธิการทหารเรือ[13]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เสนาธิการทหารเรือ[14]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 ผู้บัญชาการทหารเรือ[15]

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

ตำแหน่งพิเศษ[แก้]

  • 6 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ราชองครักษ์เวร
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ราชองครักษ์เวร
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ราชองครักษ์พิเศษ[18]
  • 10 เมษายน พ.ศ. 2524 นายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
    • ประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน[19]

ราชการสงครามและราชการพิเศษ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลวที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้ากรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526 รวมอายุได้ 72 ปี 1 เดือน 24 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2527 ณ วัดธาตุทอง

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๔๑๒)
  2. ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๖๑)
  3. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๑๐)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๒๑๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๙๙)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๗)
  7. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร กระทรวงกลาโหม
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๒๗๗)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (หน้า ๑๑๕๔)
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งด้วย เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๐๔, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๘, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๖๓, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๗, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๘, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๕๑๖, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2527