ข้ามไปเนื้อหา

ประมวล รุจนเสรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประมวล รุจนเสรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
อำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พรรคการเมืองประชามติ (2550–2551)
คู่สมรสวันเพ็ญ รุจนเสรี

ประมวล รุจนเสรี (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2482) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร และอดีตหัวหน้าพรรคประชามติ เจ้าของผลงานหนังสือ พระราชอำนาจ

ประวัติ

[แก้]

ประมวล รุจนเสรี เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับราชการในกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง จากนั้นจึงเข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

จนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 เมื่อนายเสนาะ เทียนทอง ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทยเริ่มมีการไม่ลงรอยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นายประมวลซึ่งเป็นผู้ที่สนิทกับนายเสนาะ ได้เขียนหนังสือออกมา 2 เล่ม ซึ่งเป็นที่ฮือฮาและกล่าวขานกันอย่างมาก คือ การใช้อำนาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และ พระราชอำนาจ (โดยเฉพาะหนังสือ พระราชอำนาจ นี้ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาแจ้งกับนายประมวล ว่าเมื่อได้ทอดพระเนตรแล้ว ได้มีพระราชดำรัสว่า "…เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง")[2]

จนกระทั่งเกิดการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 ที่ท้องสนามหลวง นายประมวลได้ขึ้นเวทีปราศรัยพร้อมกับนายเสนาะ เทียนทอง ด้วย

จากนั้น นายประมวลได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาราช แต่ในกลางปี พ.ศ. 2550 นายประมวลก็ได้ออกจากพรรคประชาราชเพื่อดำเนินงานทางการเมืองด้วยตนเอง และมีข่าวว่าอาจจะไปร่วมงานกับทางพรรคประชาธิปัตย์ หากตั้งพรรคการเมืองของตัวเองไม่สำเร็จ แต่ท้ายที่สุด นายประมวลก็ได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา โดยที่ตนเองเป็นหัวหน้า คือ พรรคประชามติ

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางวันเพ็ญ รุจนเสรี มีบุตรชาย หญิง รวม 3 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. "บทอาเศียรวาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๙๖, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐