อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
เสียชีวิต | 25 มกราคม พ.ศ. 2554 (81 ปี) อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
คู่สมรส | สุนันท์ ทั่งทอง (เสียชีวิต) เบญจพร ทั่งทอง |
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง (4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 - 25 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตรัฐมนตรีใน 5 รัฐบาล เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 11 สมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย
ประวัติ
[แก้]อุดมศักดิ์ ทั่งทอง เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 [1] เป็นบุตรของนายพรหมและนางช้อย ทั่งทอง[2] สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 8 จากโรงเรียนประจวบวิทยาลัย
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สมรสครั้งแรกกับนางสุนันท์ ทั่งทอง มีบุตร-ธิดารวม 5คน
1. นางอวยพร คีรีวิเชียร
2. นางสาวเอื้อมพร ทั่งทอง
3. พลตำรวจโท พนมศักดิ์ ทั่งทอง
4. นางสาวศุลีพร ทั่งทอง
5. พลตำรวจตรี ทนงศักดิ์ ทั่งทอง
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สมรสครั้งที่สองกับนางเบญจพร ทั่งทอง มีบุตร 1 คน
1. นายเกียรติศักดิ์ ทั่งทอง
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ในพื้นที่อำเภอทับสะแก[3] เขายังเป็นเจ้าของกิจการโรงเลื่อย และเคยรับราชการครูอีกด้วย[2]
งานการเมือง
[แก้]อุดมศักดิ์ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย และได้รับเลือกต่อกันรวม 11 ครั้ง เขาสังกัดพรรคชาติไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกในนามพรรคชาติไทยติดต่อกัน 6 สมัย ร่วมกับสำเภา ประจวบเหมาะ และ วิเศษ ใจใหญ่ กระทั่งเขาลาออกจากพรรคในปี พ.ศ. 2539[4] และย้ายไปสังกัดพรรคความหวังใหม่
อุดมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.45, 46)[5][6] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[8]
อุดมศักดิ์ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บ้านใหญ่ทับสะแก" และ "เจ้าพ่อ" แต่เขาปฎิเสธและกล่าวว่าตนเป็น "เจ้าพ่อโต๊ะจีน" เนื่องจากมีคนมาร่วมงานวันเกิดเป็นจำนวนมากเสมอ[9][2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อุดมศักดิ์ ทั่งทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 11 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]อุดมศักดิ์ ทั่งทอง เสียชีวิตด้วยโรคตับ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 81 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2526 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ 2.0 2.1 2.2 pubhtml5.com. "62นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์". Pubhtml5. สืบค้นเมื่อ 2025-04-09.
- ↑ สืบจากส้ม "อยู่ไม่เป็น" โยง "พลังอนาคต"
- ↑ "ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค" (PDF).
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ nattawee (2019-11-08). "สืบจากส้ม "อยู่ไม่เป็น" โยง "พลังอนาคต"". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 2025-04-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2472
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2554
- บุคคลจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
- นักการเมืองจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคสหประชาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนประจวบวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากโรคตับ