ละเอียด พิบูลสงคราม
ละเอียด พิบูลสงคราม | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (5 ปี 228 วัน) | |
ก่อนหน้า | พิจ พหลพลพยุหเสนา |
ถัดไป | เลขา อภัยวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (9 ปี 161 วัน) | |
ก่อนหน้า | เลขา อภัยวงศ์ |
ถัดไป | ศิริ สารสิน |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ละเอียด พันธุ์กระวี 25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ตำบลดอนพุทรา อำเภอกำแพงแสน เมืองนครไชยศรี ประเทศสยาม (ปัจจุบันคืออำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (80 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | แปลก พิบูลสงคราม |
บุตร | 6 คน |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พันโท |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
พันโทหญิง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หรือ ล. พิบูลสงคราม สกุลเดิม พันธุ์กระวี เป็นภริยาจอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
ครอบครัว
[แก้]ละเอียดเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ที่ตำบลดอนพุทรา เมืองนครไชยศรี (จังหวัดนครปฐม)[1]
ละเอียดเป็นบุตรคนหัวปีในบุตรทั้งสิ้น 9 คนของเจริญ พันธุ์กระวี และแช่ม พันธุ์กระวี[1] ปู่ของละเอียด คือ ขุนสุนทรลิขิต (กะวี) และย่าของละเอียดชื่อ กอง[1] ปู่ชวดของละเอียด คือ จ่าอัศวราช (ศรีจันทร์)[1] ครอบครัวของละเอียดมีฐานะปานกลาง[2]
การศึกษา
[แก้]ละเอียดเริ่มเรียนเขียนอ่านโดยบิดาสอนให้เองที่บ้าน ภายหลังจึงส่งเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนประจำที่โรงเรียนสตรีวิทยา[3] แล้วบิดาพาไปอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ให้เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนตัวอย่างพิทยาคม (ปัจจุบันคือโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) ซึ่งเป็นโรงเรียนชาย เพราะในเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนหญิง ต่อมาเมื่อคณะมิชชันนารีอเมริกันตั้งโรงเรียนหญิงคือ โรงเรียนผดุงนารี (ปัจจุบันคือโรงเรียนผดุงราษฎร์) แล้ว บิดาจึงให้ไปศึกษาที่โรงเรียนผดุงนารี[4]
การสมรส
[แก้]ขณะอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ละเอียดพบจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ซึ่งเวลานั้นคือร้อยตรี แปลก ขีตตะสังคะ กำลังฝึกทหารอยู่ เมื่อพบกันบ่อยเข้า จึงเขียนจดหมายหากัน จนรักกัน และหมั้นกันในที่สุด[5] ก่อนจะสมรสกันใน พ.ศ. 2459 ขณะนั้น ละเอียดอายุ 14 ปี[6] เมื่อสมรสแล้วได้ 3 เดือน ร้อยตรี แปลก ต้องย้ายเข้ากรุงเทพฯ ละเอียดก็ติดตามไปด้วย[6] ภายหลังเมื่อสามีย้ายไปที่อื่น ๆ ละเอียดก็ได้ติดตามไปทุกแห่ง จนกระทั่งสามีไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2467–2470 ละเอียดจึงไปประกอบอาชีพครูที่โรงเรียนผดุงนารี[7]
ละเอียดและสามีมีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ[8]
- พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม สมรสกับหม่อมหลวงพร้อมศรี สนิทวงศ์
- พลเรือโท ประสงค์ พิบูลสงคราม สมรสกับเรืองยศ เกตุนุติ
- ร้อยเอกหญิง จีรวัสส์ ปันยารชุน (ชื่อเดิม ผอบ;[9] 1 ตุลาคม 2464 – 6 มีนาคม 2560)[10] สมรสกับพันตรี ดร.รักษ ปันยารชุน[11]
- รัชนิบูล ปราณีประชาชน สมรสกับพลตำรวจโท ชูลิต ปราณีประชาชน อดีตเลขานุการกรมตำรวจ (สกุลเดิม หงสเวส)
- พัชรบูล เบลซ์ สมรสกับปีเตอร์ เบลซ์
- นิตย์ พิบูลสงคราม (30 มิถุนายน 2484 – 24 พฤษภาคม 2557) สมรสกับพัชรินทร์ (นามเดิม แพทริเชีย ออสมอนด์)
งานการเมือง
[แก้]ละเอียดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครนายก สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[12]
ในระหว่างที่จอมพล แปลก สามีของเธอ เป็นนายกรัฐมนตรี ละเอียดได้ดำรงตำแหน่งประธานสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง[13] และมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีในประเทศไทย โดยใน พ.ศ. 2497 ละเอียดได้เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดให้สตรีรับราชการได้ นำมาสู่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2497 ซึ่งเปิดให้สตรีเป็นข้าราชการตุลาการได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรมเพิ่งยอมให้สตรีเป็นข้าราชการตุลาการได้ใน พ.ศ. 2502 และยอมให้เพียงบางตำแหน่งเท่านั้น[14]
ละเอียดยังบุกเบิกงานด้านสังคมสงเคราะห์และงานพัฒนากิจการสตรีในประเทศไทย โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสภาสตรีแห่งชาติ[15] และริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลสงเคราะห์หญิงมีครรภ์และบุตร (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลราชวิถี)
ละเอียดระบุว่า ในคราวที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารต่อรัฐบาลของจอมพล แปลก สามีของเธอ เมื่อ พ.ศ. 2500 นั้น เธอกำลังร่วมการประชุมของสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อประชุมเสร็จแล้ว ได้ข่าวว่า สามีถูกรัฐประหารและกำลังหลบหนีออกจากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา ต่อมาได้ข่าวอีกว่า พระมหากษัตริย์กัมพูชาทรงต้อนรับสามีของเธอเป็นอย่างดียิ่ง เธอจึงรีบเดินทางไปพบสามีที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับสามีที่ตำหนักของเจ้าฟ้าสีหนุซึ่งพระมหากษัตริย์กัมพูชาพระราชทานให้[16] ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 เธอและสามีจึงย้ายไปพำนักในประเทศญี่ปุ่น[17]
เมื่อจอมพล แปลก อุปสมบทที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 24 วันใน พ.ศ. 2503 ละเอียดก็ตามไปปรนนิบัติด้วย[18] ภายหลัง จอมพล แปลก เสียชีวิตด้วยหัวใจวายที่ประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2506 ละเอียดก็ได้อยู่ด้วยจนวินาทีสุดท้าย[19] และได้เชิญอัฐิของสามีกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2507 จากนั้นละเอียดก็พำนักอยู่ในประเทศไทยจนวาระสุดท้าย[19]
การเสียชีวิต
[แก้]ละเอียดเสียชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว อายุรวม 80 ปี[20] เสียชีวิตที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร กรุงเทพมหานคร เวลา 13:31 นาฬิกา[21]
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและฉัตรเบญจาตั้งประกอบศพ[21] และเมื่อวันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร[22]
เกียรติยศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[23]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[24]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[26]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[27]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[28]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[29]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2498 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎ ชั้นตริตาภรณ์[31]
- สเปน :
- พ.ศ. 2498 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 1[31]
- พม่า :
- พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นอรรคมหาสเรสิธุ (ฝ่ายพลเรือน)[32]
ยศทหาร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 1)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 2)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 3)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 4)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 6–7)
- ↑ 6.0 6.1 อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 7)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 8–9)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 17)
- ↑ อภิรดา มีเดช (2017-03-06). "ลูกทหารรักชาติ: จีรวัสส์ พิบูลสงคราม". WAY. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ จีรวัสส์ ปันยารชุน บุตรี 'จอมพล ป. พิบูลสงคราม' เสียชีวิต
- ↑ ประวัติบริษัทฯ ยุคแรกปี พ.ศ. 2499–ปี พ.ศ. 2530 article
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 202)
- ↑ ภาพิมล อิงควระ (2021, หน้า 9–10)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 213–214)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 12)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 13)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 15–16)
- ↑ 19.0 19.1 อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 16)
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า 20)
- ↑ 21.0 21.1 อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า [6])
- ↑ อนุสรณ์ฯ (1984, หน้า [9])
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 70 ตอนที่ 29 ง หน้า 2055, 12 พฤษภาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 71 ตอนที่ 84 ง หน้า 2807, 14 ธันวาคม 2497
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 68 ตอนที่ 74 ง หน้า 5656, 11 ธันวาคม 2494
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 73 ตอนที่ 81 ง หน้า 3005, 9 ตุลาคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน, เล่ม 58 ตอนที่ 0 ง หน้า 1956, 23 มิถุนายน 2484
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม 61 ตอนที่ 33 ง หน้า 952, 30 พฤษภาคม 2487
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2014-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 55 ตอนที่ 0 ง หน้า 3021, 5 ธันวาคม 2481
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70 ตอนที่ 80 ง หน้า 5433, 29 ธันวาคม 2496
- ↑ 31.0 31.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2021-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 72 ตอนที่ 63 ง หน้า 2085, 9 สิงหาคม 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า 55 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2485
บรรณานุกรม
[แก้]- อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ป.จ. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันอังคาร 14 สิงหาคม พ.ศ. 2527. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์. 1984.
- ภาพิมล อิงควระ (2021). ความเปลี่ยนแปลงในอาชีพผู้พิพากษาสตรีในสังคมไทย พ.ศ. 2497–2563 (PDF). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
อ่านเพิ่ม
[แก้]- ชานันท์ ยอดหงษ์. “การช่วงชิง ‘ความเป็นหญิงไทย’ ระหว่างท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามกับปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475 ฝ่ายหญิง.” ใน ถนอม ชาภักดี และคนอื่น ๆ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 11 เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์, เล่ม 1. น. 309-319. กรุงเทพฯ: มีดี กราฟิก, 2560.
- ชานันท์ ยอดหงษ์. “‘หลังบ้าน’ คณะราษฎร กับการอภิวัฒน์ 2475.” ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (บก.), 70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2: ไทยจากเอกสารจดหมายเหตุต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน. หน้า 168-186. มปท: มปพ, 2558.
- Natanaree Posrithong. “Women Enter the ‘public Sphere’: Thailand’s Post-Revolutionary Period 1932-1956.” Rian Thai: International Journal of Thai Studies 6 (2013) : 137-161. เก็บถาวร 2021-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ละเอียด พิบูลสงคราม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คุณหญิงพิจ พหลพลพยุหเสนา | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 1) (16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) |
คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ | ||
คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (สมัยที่ 2) (8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500) |
คุณหญิงศิริ สารสิน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2446
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลจากอำเภอดอนตูม
- สกุลพิบูลสงคราม
- ท่านผู้หญิง
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- บุคคลจากโรงเรียนสตรีวิทยา
- บุคคลจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดนครปฐม