ข้ามไปเนื้อหา

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
สมชาย ใน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2551[1] – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 75 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าสมัคร สุนทรเวช
ถัดไปชวรัตน์ ชาญวีรกูล
(รักษาการ)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 231 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสมัคร สุนทรเวช
ถัดไปประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 231 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าวิจิตร ศรีสอ้าน
ถัดไปศรีเมือง เจริญศิริ
รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 63 วัน)
ก่อนหน้าสมัคร สุนทรเวช
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(หัวหน้าพรรค)
(พรรคเพื่อไทย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2554–2561, 2564–2567)
เพื่อธรรม (2561–2563)
คู่สมรสเยาวภา ชินวัตร
บุตร
บุพการี
  • เจิม วงศ์สวัสดิ์ (บิดา)
  • ดับ วงศ์สวัสดิ์ (มารดา)
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 26[2][3] เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้พิพากษา ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ในขณะที่สมชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และไเ้ใช้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ทำการแทน

ประวัติ

[แก้]

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่ตำบลสวนขัน อำเภอฉวาง (ปัจจุบันคือ อำเภอช้างกลาง[4]) จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของเจิมและดับ วงศ์สวัสดิ์ สมรสกับเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23[5]

มีบุตร 3 คน คือ

  1. ศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน) รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับ นันทกานต์ บุตรสาวของวิโรจน์ และภาวิณี ศิลป์เสวีกุล เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558
  2. ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (เชียร์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 1
  3. ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่) สมรสกับ นัม ลีนาล เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การศึกษา

[แก้]

สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์[6] สำเร็จนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อมาปี 2516 เข้าศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540

ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มีนาคม 2549 และได้ลาออกจากราชการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542–2549

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี[8]

17 กันยายน 2551 ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[9] โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่าสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้สมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[10][11]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 2[12]

การปฏิบัติงาน

[แก้]
  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ความมั่นคง

[แก้]
  • แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
  • จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง

เศรษฐกิจ

[แก้]
  • แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศ
  • เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
  • สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว

สิทธิมนุษยชน

[แก้]
  • เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

ฉายานาม

[แก้]

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมทั้ง ตั้งฉายารัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ว่าเป็น รัฐบาล "ชายกระโปรง"[13]

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

[แก้]

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของยงยุทธ ติยะไพรัช จากพรรคพลังประชาชน มณเฑียร สงฆ์ประชา จากพรรคชาติไทย และสุนทร วิลาวัลย์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ทำให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน) ตามประกาศ คปค. เช่นกัน

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน) ตามประกาศ คปค.[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในและต่างประเทศ[15] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รักษาการ ตั้งแต่ 9 จนถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2551
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  3. "สภาฯ เท298เสียงเลือก'สมชาย'เป็นนายกฯ". กรุงเทพธุรกิจ. 2008-09-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
  4. วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 15 05 58
  5. Ahuja, Ambika (2008-09-09). "Cooking show stint derails Thai prime minister". Associated Press/Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-10.
  6. วาจาสิทธิ์พ่อท่านคล้าย "สมชาย"นั่งนายกฯ เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยามรัฐ 17 กันยายน 2551
  7. "tvnz.co.nz/view, FACTBOX - Somchai Wongsawat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  8. "Thai party names nominee for PM". BBC News. 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  9. "Somchai elected new prime minister". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
  10. edition.cnn.com, Thai lawmakers elect Thaksin's in-law as PM
  11. "google.com, Thaksin's brother-in-law elected Thai PM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
  12. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  13. Sanook.com, ธีรยุทธขาประจำมาแล้ว ตั้งรัฐบาล 'ชายกระโปรง' เรียกข้อมูลวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551
  14. ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  15. "นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถัดไป
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26
(ครม. 58)

(18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กันยายน พ.ศ. 2551)
ศรีเมือง เจริญศิริ
สมัคร สุนทรเวช
หัวหน้าพรรคพลังประชาชน
(30 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(ในนามพรรคเพื่อไทย)