ชุมพล โลหะชาละ
พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มกราคม พ.ศ. 2461 |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (83 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงทองอยู่ โลหะชาละ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อย |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ (หงศ์ โลหะชาละ) เป็นนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เริ่มชีวิตการงานเป็นคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่สุดท้ายกลายเป็นนายตำรวจใกล้ชิดกับราชสำนัก เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ 2 สมัย และในรัฐบาลบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ เดิมชื่อ หงส์ โลหะชาละ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[1] และจบโรงเรียนนายร้อยในปี 2483[2]:204
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 อายุ 83 ปี และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์[3]
การงานและบทบาททางการเมือง[แก้]
ชุมพลเป็นคนสนิทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เขาเป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ติดตามจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลบหนีโดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ดไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา[4] เมื่อครั้งเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500[5] อย่างไรก็ดีเมื่อเขากลับไปรายงานตัวที่จังหวัดพระนคร เขาไม่ถูกลงโทษ[2]:204
หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ ต่างประเทศหลังจากสฤษดิ์ฟื้นฟูพระราชอำนาจ เขาตามเสด็จฯ แทบทุกครั้งในฐานะนายตำรวจราชสำนัก ซึ่งรวมถึงตามถวายอารักขาการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ[2]:204–5 ในช่วงนั้นเขาเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[2]:205
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[6] ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ประกอบขึ้นจากผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระราชพฤทัย[2]:205 เขาได้เลื่อนเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในปี 2519[2]:205[7][8] ในคดีการเมืองที่เขาคุมอยู่นั้น คดีที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายซ้ายจะตามจับผู้ใดไม่ได้ ซึ่งรวมถึงคดีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้าที่จังหวัดนครปฐมในวันที่ 24 กันยายน 2519 ด้วย แต่ถ้าเป็นฝ่ายนักศึกษาจะตามจับได้ทุกราย[2]:205–6
ในเหตุการณ์ 6 ตุลา (2519) เขาเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจสลายการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]:199 ทั้งนี้แม้ว่า สุธรรม แสงประทุมและนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบมเดชานุภาพยอมมอบตัวแล้ว[2]:202 พฤติกรรมของเขาสะท้อนชัดเจนว่าต้องการปราบนักศึกษาให้สิ้นซากหรือลบชื่อ ศนท.[2]:203
กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 จนถึงปี พ.ศ. 2523[9][10]
ครอบครัว[แก้]
พลตำรวจเอก ชุมพล เป็นบิดาของ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ - โรงเรียนเทพศิรินทร์
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 เจียมธีรสกุล, สมศักดิ์ (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก. ISBN 9745728772. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๑๔๐)
- ↑ เลียววาริณ, วินทร์ (2540). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. ดอกหญ้า. ISBN 974-85854-7-6. หน้า 421
- ↑ เพื่อนร่วมตาย คืนปฏิวัติ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓
- ↑ เพื่อนร่วมตาย คืนปฏิวัติ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
- ↑ เส้นทางลี้ภัยจอมพลป.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2461
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2544
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.4
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา