ข้ามไปเนื้อหา

ปราโมทย์ สุขุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราโมทย์ สุขุม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2483
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 มีนาคม พ.ศ. 2550 (66 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสคุณหญิง กัญญา หงส์ลดารมภ์ (หย่า)

ปราโมทย์ สุขุม (9 ตุลาคม พ.ศ. 2483 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2550) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนักการเมืองที่ได้รับฉายาว่า “สุภาพบุรุษนักการเมือง” จากสื่อมวลชน

ประวัติ

[แก้]

ปราโมทย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายเกษม สุขุม (2450–2533) อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กับ คุณหญิง ชื่นจิตต์ สุขุม (2462–2542) ด้านครอบครัวสมรสและหย่ากับกัญญา ตัณฑเศรษฐี (ปัจจุบันคือคุณหญิงกัญญา หงส์ลดารมภ์) มีบุตร 3 คน

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอเมริกา โดยเข้าเรียนที่ Fishburne Military School และระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิสถาปัตยกรรม และการวางผังสิ่งแวดล้อม Utah State University ภายหลังจบการศึกษาได้กลับมารับราชการ “สถาปนิกเอก” สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และรักษาการ “ผู้อำนวยการกองวิจัย” สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกเป็นปลัดเมืองพัทยา (ผู้บริหารระดับสูงสุดของเมืองพัทยาเทียบเท่านายกเทศมนตรี ตามพระราชบัญญัติเมืองพัทยา) ในระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2523 และเคยดำรงตำแหน่ง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองโฆษกรัฐบาล) ในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ปราโมทย์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคระบบหัวใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว รวมอายุได้ 67 ปี[1]

งานการเมือง

[แก้]

ปราโมทย์ เข้าสู่การเมืองโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัยระหว่างปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2546 เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] ประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการปีรณรงค์วัฒนธรรมแห่งชาติ” สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในช่วง พ.ศ. 2535 อนุกรรมการ ป.ป.ป. (คณะกรรมการป้องการและปราบปรามการประพฤติมิชอบในวงราชการ) ในสมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี) 2 สมัย ประธานคณะกรรมการศึกษาปัญหาเร่งด่วน พิจารณาแนวทางพัฒนาและประสานราชการเมืองพัทยา (ภาครัฐบาล) เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นรองโฆษกรัฐบาล และต่อมาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (2 สมัย)

ปราโมทย์ เจริญรอยตามบรรพบุรุษต้นตระกูล “สุขุม” คือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ตลอดจนสืบสายเลือด “คนไทยเชื้อสายจีน” จากตระกูล ณ สงขลา ของคุณย่า ซึ่งทั้งสองตระกูลสะสมความซื่อสัตย์ ความดีงามไว้ในแผ่นดินถึง 5 รัชกาล ฉะนั้นการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอดีตอนุกรรมการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) ถึง 2 สมัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ป.ป.ช.) ย่อมเป็นหลักยืนยันความซื่อสัตย์สุจริตได้เป็นอย่างดี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ปราโมทย์ สุขุม" ถึงแก่กรรมแล้ว!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-02-05. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗