สุวรรณ ธนกัญญา
สุวรรณ ธนกัญญา ป.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
พรรค | สหประชาไทย (พ.ศ. 2512-พ.ศ.2514) ธรรมสังคม (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519) |
คู่สมรส | พริ้ง ธนกัญญา |
บุตร | ธนวิทย์ ธนกัญญา[1] |
สุวรรณ ธนกัญญา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 - 2519 เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 และ พ.ศ. 2518
การทำงาน[แก้]
สุวรรณ ธนกัญญา เคยรับราชการครูและเคยดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดหลายจังหวัด[2][3][4] และยังเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านการทำเหมืองแร่ ประทานบัตรเหมืองแร่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง[5]
งานการเมือง[แก้]
สุวรรณ ธนกัญญา เป็นนักการเมืองชาวนครราชสีมา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม[6] นำโดยนายทวิช กลิ่นประทุม และเขาได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคธรรมสังคม[7]
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนจากพรรคต่าง ๆ จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และนายสุวรรณ ธนกัญญา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[8] เป็น 1 ใน 9 รัฐมนตรีของพรรคธรรมสังคม ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุวรรณ ธนกัญญา มีบทบาทในการสนับสนุนผลักดันการจัดตั้ง ขยาย และยกระดับโรงเรียนหลายแห่ง เช่น โรงเรียนมัธยมวชิราลงกรณวราราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[9] โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม[10] โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์[11] เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2518 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2509 - เหรียญลูกเสือสดุดี[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศศาลจังหวัดบัวใหญ่ เรื่อง คำสั่งให้ นายธนวิทย์ ธนกัญญา เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ↑ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน
- ↑ โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี)
- ↑ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีประชาสรรค์
- ↑ http://library.dmr.go.th/Document/DMR_Technical_Reports/2536/9858.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-26. สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
- ↑ โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม
- ↑ โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ เหรียญลูกเสือสดุดี