วันมูหะมัดนอร์ มะทา
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] (1 ปี 137 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รอง | รองประธานรัฐสภา พรเพชร วิชิตชลชัย (2562–2567) มงคล สุระสัจจะ (2567–ปัจจุบัน) รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ปดิพัทธ์ สันติภาดา (2566–2567) พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน (2567–ปัจจุบัน) รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน (2566–2567) ภราดร ปริศนานันทกุล (2567–ปัจจุบัน) |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (3 ปี 216 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา ชวลิต ยงใจยุทธ ชวน หลีกภัย |
รอง | มีชัย ฤชุพันธุ์ (รองประธานรัฐสภา พ.ศ. 2539-2543) สนิท วรปัญญา (รองประธานรัฐสภา พ.ศ. 2543) โสภณ เพชรสว่าง (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1) สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2) |
ก่อนหน้า | บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ |
ถัดไป | พิชัย รัตตกุล |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (0 ปี 210 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | โภคิน พลกุล |
ถัดไป | พินิจ จารุสมบัติ สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 (1 ปี 159 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ |
ถัดไป | โภคิน พลกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 134 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | วิชิต สุรพงษ์ชัย |
ถัดไป | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (1 ปี 228 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
ถัดไป | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 (0 ปี 156 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
ถัดไป | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (0 ปี 47 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | เด่น โต๊ะมีนา |
ถัดไป | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 240 วัน) | |
หัวหน้าพรรคประชาชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (4 ปี 245 วัน) | |
ถัดไป | วรวีร์ มะกูดี (รักษาการ) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (14 ปี 105 วัน) | |
ก่อนหน้า | เฉลิม เบ็ญหาวัน |
ถัดไป | ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (3 ปี 331 วัน) | |
ก่อนหน้า | อุสมาน อุเซ็ง |
ถัดไป | เฉลิม เบ็ญหาวัน |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2535 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 (2 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ชุมพล ศิลปอาชา |
ถัดไป | เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ (2561–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | กิจสังคม (2522–2527) ประชาธิปัตย์ (2527–2537) ความหวังใหม่ (2537–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) ประชาราช (2550) มัชฌิมาธิปไตย (2550) พลังประชาชน (2550–2551) มาตุภูมิ (2551–2555) เพื่อไทย (2555–2561) |
คู่สมรส | อัสนา วัฒนาทร |
ลายมือชื่อ | |
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) หรือ วันนอร์ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชุดที่ 26) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายสมัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่เป็นชาวไทยมุสลิม ในช่วง พ.ศ. 2539 จนถึง พ.ศ. 2543 (ชุดที่ 20) และอดีตหัวหน้าพรรคประชาชาติคนแรก ในฐานะแกนนำกลุ่มวาดะห์
ประวัติ
[แก้]วันมูหะมัดนอร์ มะทา เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ที่ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายเจ๊ะอาแว กับนางแวสะปิเยาะ มะทา และเป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน คือ
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมือง แกนนำกลุ่มวาดะห์
- จุฑาทิพย์ มะทา ข้าราชการเกษียณ และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานอัยการ จังหวัดยะลา
- มันโซ มะทา ทำธุรกิจฟาร์มแพะที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
- จุฑารัตน์ วงศ์พานิช ภริยาสุไลมาน วงศ์พานิช อดีตวุฒิสมาชิก
- อนันต์ มะทา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
- มุขตาร์ มะทา อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดยะลา ปัจจุบันตำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
- ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
- สูการีย๊ะ ดือราแม ธุรกิจส่วนตัว
- สาการียา มะทา เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
- มยุรี มะทา ธุรกิจส่วนตัว
การศึกษา
[แก้]วันมูหะมัดนอร์ มะทา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านสะเตง จังหวัดยะลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เข้าศึกษาปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนกระทรวงมหาดไทย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน ในปี 2567 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
การทำงาน
[แก้]วันมูหะมัดนอร์ มะทา เริ่มรับราชการครูและได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่ โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่อายุเพียง 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) ปี พ.ศ. 2518 เป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ) และเป็นอาจารย์พิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมกันด้วย จากนั้นในปี พ.ศ. 2521 ได้รับตำแหน่งรองอธิการบดี วิทยาลัยครูสงขลา
การเมือง
[แก้]วันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัด พรรคกิจสังคม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและแกนนำ กลุ่มวาดะห์ ไปเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาย้ายไปร่วมก่อตั้งพรรคประชาชน[2] และ พรรคความหวังใหม่ โดยมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำกลุ่มวาดะห์ แทนนายเด่น โต๊ะมีนาที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา ก่อนจะย้ายไปเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย จากการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ต่อมาวันมูหะมัดนอร์ มะทา ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3] แต่ยังคงมีบทบาทให้คำแนะนำ ส.ส.กลุ่มวาดะห์ ซึ่งย้ายจาก พรรคไทยรักไทย ไปสังกัดพรรคประชาราช ระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน กระทั่งในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง นายวันมูหะหมัดนอร์ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
- พ.ศ. 2522 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยแรก ในสังกัดพรรคกิจสังคม
- พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2529
- ร่วมกับ นายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้ง “กลุ่มเอกภาพ”(กลุ่มวาดะห์)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- พ.ศ. 2531
- นำกลุ่มวาดะห์ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ "กลุ่ม 10 มกรา" ร่วมกันจัดตั้งพรรคประชาชน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาชน
- พ.ศ. 2532 นำพรรคประชาชนยุบรวมกับ พรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรครวมไทย เป็นพรรคเอกภาพ
- พ.ศ. 2533 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [4]
- พ.ศ. 2535
- นำกลุ่มวาดะห์ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 4 (จากการเลือกตั้ง 2535/1)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 5 (จากการเลือกตั้ง 2535/2)
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (กำกับดูแล กรมที่ดิน การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค )
- พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 6
- พ.ศ. 2538-2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พ.ศ. 2539
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 7
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานรัฐสภา (24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543)
- พ.ศ. 2544
- 3 ตุลาคม 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 28 ธันวาคม 2545 รับพระราชทานยศ นายกองใหญ่
- 10 มีนาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี
- 6 ตุลาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 9
- ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 13[7]
- พ.ศ. 2560 คดีสินบนโรลส์-รอยซ์ ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งขณะนั้นวันมูหะมัดนอร์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีบันทึกอ้างการจ่ายเงินอีกครั้งจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด” หลังจากนั้นในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พนักงานของไทยคนเดิม เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”[8][9]
- ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้เข้าร่วมกับพรรคประชาชาติ และได้เป็นบุคคลที่พรรคประชาชาติจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[10]เป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 10 (แบบบัญชีรายชื่อ) ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563[11] ทั้งนี้ วันมูหะมัดนอร์ยังคงเป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติเช่นเดิม
- ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 วันมูหะหมัดนอร์ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคประชาชาติ จากนั้นในการลงมติเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมปีเดียวกัน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอชื่อวันมูหะหมัดนอร์เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการเสนอชื่ออื่นแข่ง วันมูหะหมัดนอร์จึงได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาอีกสมัย[12] จากนั้นวันมูหะหมัดนอร์ได้ลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาชาติ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 116 วรรค 2 ส่งผลให้วรวีร์ มะกูดี รักษาการหัวหน้าพรรคประชาชาติแทน[13]
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
[แก้]- อมีรุ้ลฮัจญ์ของประเทศไทย คือ ผู้นำแสวงบุญประจำปีสำหรับบรรดาผู้แสวงบุญชาวไทย ในพิธีฮัจญ์ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
- คณะมนตรีของสันนิบาตโลกมุสลิม (รอบิเฏาะฮ์)
- นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่วันมูหะมัดนอร์ มะทา เมื่อ พ.ศ. 2546[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[18]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2550 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ประธาน-รองประธานสภา’
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ รับพระราชทานยศ นายกองเอก
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ ข้อมูลซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์ช่วงสินบนก้อน 2
- ↑ แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
- ↑ เปิดรายชื่อ บัญชีนายกฯ 45 พรรค 69 ชื่อ ไร้ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ไทยรักษาชาติ
- ↑ "วันนอร์" ลาออก ส.ส. ลุยขยายฐานพรรครับเลือกตั้ง
- ↑ ""วันนอร์" ฉลุย นั่งประธานสภา ไร้คู่แข่ง หลัง "พิธา" เสนอชื่อ". มติชน. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วันนอร์ เซ็นใบลาออก หน.ประชาชาติแล้ว มอบหมาย 'วรวีร์' รักษาการแทน". มติชน. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชวน หลีกภัย | ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ | ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543) |
พิชัย รัตตกุล | ||
สุเทพ เทือกสุบรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | ||
ก่อตั้งพรรค | หัวหน้าพรรคประชาชาติ (1 กันยายน พ.ศ. 2561 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) |
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองยะลา
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- ประธานรัฐสภาไทย
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
- บุคคลจากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย