อาษา เมฆสวรรค์
อาษา เมฆสวรรค์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2539 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก เทียม มกรานนท์ |
ถัดไป | พลตรี จำลอง ศรีเมือง |
รองประธานวุฒิสภาไทย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน 2535 – 21 มีนาคม 2539 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน 2539 – 26 กันยายน 2539 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543 | |
ก่อนหน้า | พลเอก พิศิษฐ์ เหมะบุตร |
ถัดไป | เฉลิม พรหมเลิศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มกราคม พ.ศ. 2467 (97 ปี) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย |
คู่สมรส | คุณหญิงส่องแสง เมฆสวรรค์ |
อาษา เมฆสวรรค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองเอก และ อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (จากการแต่งตั้ง)
ประวัติ[แก้]
อาษา เมฆสวรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2467 ที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนสวรรค์วิทยาปัจจุบันชื่อโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ธรรมศาสตรบัณฑิต) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองปัจจุบันชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาการบริหารและการปกครอง ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 19[1] อาษา เมฆสวรรค์ สมรสกับ คุณหญิงส่องแสง เมฆสวรรค์ (สกุลเดิม : แสงอุทัย)
การทำงาน[แก้]
รับราชการ[แก้]
อาษา เมฆสวรรค์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้โอนย้ายมาเป็นปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอ ปลัดจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุโขทัย และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งคนสุดท้าย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย) ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน
งานการเมือง[แก้]
อาษา เมฆสวรรค์ เริ่มทำงานการเมืองโดยการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2528 และระหว่างปี พ.ศ. 2534 จนถึง พ.ศ. 2539 เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2534[3] เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พ.ศ. 2529) และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ จึงยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่
ยศกองอาสารักษาดินแดน[แก้]
- พ.ศ. 2516 ว่าที่นายกองเอก อาษา เมฆสวรรค์ รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก อาษา เมฆสวรรค์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2525 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2516 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้น 3 (ภ.ป.ร. 3)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติของกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอาษา เมฆสวรรค์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๑ พลเอก วิชิต บุณยะวัฒน์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๒)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/101/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุโขทัย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย
- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน