ข้ามไปเนื้อหา

ทรงวิทย์ หนุนภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรงวิทย์ หนุนภักดี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 346 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 206 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
คู่สมรสปัญญดา หนุนภักดี
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[1]
บังคับบัญชากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2508) เป็นนายทหารชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และสมาชิกสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการสภาลูกเสือไทยอดีต รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและ อดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี มีชื่อเล่นว่า อ๊อฟ เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2508 เป็นบุตรชายของ พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้บัญชาการทหารบก กับคุณหญิง แพทย์หญิงสุมนา หนุนภักดี (สกุลเดิม: วิชพันธ์)[2] เขามีศักดิ์เป็นหลานปู่ของพล.ต.ท. ฉัตร หนุนภักดี อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล, หลานอาของคุณหญิงวรรณี คราประยูร และหลานอาของ พล.อ. ชัยณรงค์ หนุนภักดี อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]พล.อ. ทวีศักดิ์ หนุนภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)

การศึกษา

[แก้]

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 24 ก่อนไปจบการศึกษาที่สถาบันการทหารเวอร์จิเนีย จากสหรัฐ[4]

การทำงาน

[แก้]

พล.อ. ทรงวิทย์ หนุนภักดี เคยดำรงตำแหน่ง ดังนี้

  1. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  2. ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[5]
  3. รองแม่ทัพภาคที่ 1[6]
  4. รองเสนาธิการทหารบก[7]
  5. หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารบก

ต่อมาจึงย้ายไปอยู่กองบัญชาการกองทัพไทย รับตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[8] กระทั่งวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สภากลาโหมจึงมีมติเลือกเขาให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสืบต่อจาก พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์[9] สัปดาห์ถัดมา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกทรงวิทย์เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอย่างเป็นทางการ[10] นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลเรือเอก และพลอากาศเอก ให้พล.อ. ทรงวิทย์เป็นกรณีพิเศษตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567[11]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขานำทหารไปช่วยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ตกอยู่ในวงล้อมการปะทะ รวมทั้งได้เข้าช่วยเหลือนักข่าวที่ติดอยู่ในป้อมตำรวจจากเหตุปะทะบริเวณแยกหลักสี่[12][13]

ในปี พ.ศ. 2560 รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองผสมในริ้วขบวนที่ 3 ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ในปี พ.ศ. 2562 รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองผสมในกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้เขายังเป็นกรรมการ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)[14] รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และเคยเป็นกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ
  2. "อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 ที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก – กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)".
  3. พล.อ.ชัยณรงค์ หนุนภักดี อดีตรอง ผบ.สส. ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 83 ปี
  4. ส่องประวัติ'ผบ.เหล่าทัพ'ชุดใหม่ 'ตท.23-ตท.24' ผงาดคุมกองทัพ
  5. โผทหารกลางปี 61 "ทรงวิทย์ หนุนภักดี" ผงาดนั่ง ผบ.พล 1 คุมกำลังเมืองหลวง
  6. เปิดตัว พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผบ.ทสส.
  7. โปรดเกล้าฯ 792 นายทหาร
  8. โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหาร 765 ตำแหน่ง เชิงชายเป็นผบ.ทร.-อลงกรณ์นั่งผบ.ทอ.
  9. นายกฯ เคาะโผทหาร "เจริญชัย"ผงาด ผบ.ทบ. "ทรงวิทย์" ผบ.ทสส. ทร.ยังไม่ลงตัว
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๒, ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
  12. "พ.อ.ทรงวิทย์ ทหารของประชาชน.. นำกำลังเข้าช่วยนักศึกษา ม.ราม". kapook.com. 2013-12-02.
  13. "เปิดตัว พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผบ.ทสส". Thai PBS.
  14. "พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี". www.bangchak.co.th.
  15. รายงานประจำปี 2562 - การยาสูบแห่งประเทศไทย
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๕, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘