สิทธิชัย โควสุรัตน์
สิทธิชัย โควสุรัตน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | บัญญัติ จันทน์เสนะ ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ |
ถัดไป | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ประสงค์ โฆษิตานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี |
พรรค | พรรคไทยสร้างไทย |
ศาสนา | พุทธ |
สิทธิชัย โควสุรัตน์ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 -) กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (วาระ 2565-2567) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนาย สมัคร สุนทรเวช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี หลายสมัย
ประวัติ[แก้]
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเขมราฐ (บ้านใต้) เรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่คณะนิติศาสตร์ และปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ในระดับประเทศอีกหลายหลักสูตร
ประวัติทางการเมือง[แก้]
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี (ส.จ.) ในปี พ.ศ. 2533 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ได้ลงสมัคร ส.ส. ในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัดสิทธิ์เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังประชาชน แต่นายสิทธิชัย ตอบโต้ว่าไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนแต่อย่างใด[1] ซึ่งต่อมาศาลฎีกา ได้มีคำพิพากษาให้คืนสิทธิ์แก่นายสิทธิชัย ด้วยเหตุว่าลายมือชื่อในใบสมัครสมาชิกพรรคพลังประชาชน ไม่ตรงกับลายมือชื่อของนายสิทธิชัย[2] ทำให้นายสิทธิชัย ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วนกลุ่ม 4 พรรคเพื่อแผ่นดิน
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และลาออกจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ตัดสิทธิ 37 ผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน สิทธิชัย โควสุรัตน์ โดนด้วย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
- ↑ ศาลให้สิทธิชัยสมัครสส.ได้ ยันลายเซ็นที่พปช.โชว์ปลอม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2023
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอวารินชำราบ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.