ข้ามไปเนื้อหา

แผน สิริเวชชะพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผน สิริเวชชะพันธ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2457
อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เสียชีวิต4 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 (67 ปี)
คู่สมรสอรณี สิริเวชชะพันธ์

แผน สิริเวชชะพันธ์ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2457 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 3 สมัย

ประวัติ

[แก้]

แผน เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457 เป็นบุตรของ นายแพทย์ขุนสิริเวชชะพันธุ์ (เขียน สิริเวชชะพันธุ์) กับนางลำเจียก สิริเวชชะพันธ์ และเป็นน้องชายของ พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8[1] สมรสกับนางอรณี สิริเวชชะพันธ์

งานการเมือง

[แก้]

แผน เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรีคนที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2494 อีกทั้งยังลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้ง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2519 รวม 3 สมัย

แผน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[2] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[3] จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

แผน สิริเวชชะพันธ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคสหภูมิพรรคชาติสังคม[6]
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคเกษตรสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

แผน สิริเวชชะพันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 สิริอายุรวม 67 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐสภาสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2519. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2519
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  3. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๒, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙