ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ | |
---|---|
ดาว์พงษ์ใน พ.ศ. 2562 | |
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (7 ปี 365 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] (1 ปี 108 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ณรงค์ พิพัฒนาศัย |
ถัดไป | ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 354 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี |
ถัดไป | สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ |
รองผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 (1 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ |
ถัดไป | พลเอก อุดมเดช สีตบุตร |
เสนาธิการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง |
ถัดไป | พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กันยายน พ.ศ. 2496 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | พลโทหญิง สุพัตรา รัตนสุวรรณ |
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2496) เป็นอดีตนักการเมืองและอดีตนายทหารบกชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี[2] ประธานกรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม[3] อดีตเลขานุการคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์[4] และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตประธานกรรมการคุรุสภา[5] อดีตรองประธานกรรมการในคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[6] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตที่ปรึกษาและอดีตเลขานุการคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก[7]อดีตประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย อดีตเลขาธิการสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย[8] และอดีตเสนาธิการทหารบก เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[9] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประวัติ
[แก้]ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เกิดวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ พันเอก (พิเศษ) ศิริ และนางชม้อย รัตนสุวรรณ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 (ตท.12 - รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป ,พล.อ.เอกชัย จันทร์ศรี , พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 (จปร.23) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ มีชื่อเล่นว่า "หนุ่ย" จึงทำให้สื่อมวลชนเรียกฉายาว่า "บิ๊กหนุ่ย" ชีวิตครอบครัว สมรสกับ พลโทหญิง สุพัตรา รัตนสุวรรณ ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก มีบุตร ๒ คน ได้แก่ ภัทธิยะ รัตนสุวรรณ และ ดาว์ปกรณ์ รัตนสุวรรณ รองประธาน เอเอ็มจี ไทยแลนด์ จูเนียร์ กอล์ฟ ทัวร์
การทำงาน
[แก้]ดาว์พงษ์ เริ่มต้นชีวิตราชการทหารครั้งแรกกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) จนกระทั่งได้เป็นถึงผู้บังคับการกรม ในปี พ.ศ. 2530 ได้เป็นราชองครักษ์เวร จากนั้นได้เป็นฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมกำลังรบหลักของกรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาค 1 ก่อนที่ในปีถัดมาจะได้เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ และได้เลื่อนขึ้นมาเป็นรองเสนาธิการทหารบก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการทหารบกในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 พร้อมกับเลื่อนยศเป็น พลเอก (พล.อ.) ด้วย
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.ดาว์พงษ์ ในขณะนั้นมียศเป็น พลตรี (พล.ต.) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
ดาว์พงษ์ เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ซึ่งขณะนั้นนั้น พล.อ.ดาว์พงษ์ ในยศ พลโท (พล.ท.) ในตำแหน่งเป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อีกทั้งเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์ ถึงเหตุการณ์การกระชับพื้นที่และการสลายการชุมนุม ซึ่งได้รับการวิจารณ์ว่าทำได้ดี ชี้แจงได้อย่างเข้าใจ โดยที่ไม่มีการร่างหนังสือล่วงหน้ามาก่อน
นอกจากนั้นแล้ว ก่อนหน้านี้ ดาว์พงษ์ยังมีบทบาทในการแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และเป็นผู้วางแผนงานต่าง ๆ ในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบรวมถึงเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง)
เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการทหารบก กล่าวกันว่าเป็นเพราะความที่สนิทสนมด้วยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งพร้อมกัน และถือได้ว่าเป็นนายทหารสายวงศ์เทวัญเพียงคนเดียวที่ได้รับเลื่อนยศและเลื่อนตำแหน่งในยุคที่ได้รับการวิจารณ์ว่ามีแต่ทหารสายบูรพาพยัคฆ์เท่านั้นที่ได้รับโอกาส[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับโปรดเกล้าฯให้ขึ้นดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก[11]
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] ต่อมาถูกปรับให้ไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนสุดท้ายที่เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากในวันที่ 12 ธันวาคม 2559 มี พรบ.พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่3) ให้ตำแหน่งประธานกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย เป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[13]
ในปี พ.ศ. 2559 เขาได้ใช้อำนาจในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 47/2559 ลงวันที่ 22 มกราคม 2559 เรื่อง ให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญอยู่ในความควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ [14] จำนวน 12 ราย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ เที่ยงตรง ประธานกรรมการ
รางวัล
[แก้]- ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว พ.ศ. 2554[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[19]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[20]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[21]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
- ↑ กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- ↑ ประธานกรรมการคุรุสภา
- ↑ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 584 ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 115 ง วันที่ 1 ตุลาคม 2554
- ↑ "ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
- ↑ "เสนาธิการทหารบก เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ โผทหารถึง"มาร์ค"บูรพาพยัคฆ์คุมทบ.จากคมชัดลึก
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทหารแล้ว พล.อ.ธนะศักดิ์ นั่งแท่นผบ.สส.คนใหม่ จากกระปุกดอตคอม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ ประธานกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย เป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ↑ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 47/2559
- ↑ ทำเนียบศิษย์เก่ารางวัลเกียรติยศจักรดาว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
ก่อนหน้า | ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 61) (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ | ||
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 10
- นักการเมืองไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ราชองครักษ์เวร
- เสนาธิการทหารบกไทย