กฤช สังขทรัพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันตำรวจเอก
กฤช สังขทรัพย์
ม.ว.ม., ต.ช.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม 2523 – 5 กันยายน 2524
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2472
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต 5 กันยายน พ.ศ. 2524 (52 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรค พรรคชาติไทย
คู่สมรส นางสมบูรณ์ สังขทรัพย์
อาชีพ ตำรวจ, นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  ไทย
สังกัด กรมตำรวจ
ประจำการ พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2519
ยศ RTP OF-5 (Police Colonel).svg พันตำรวจเอก

พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 2 สมัย เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524

ประวัติ[แก้]

พ.ต.อ. กฤช สังขทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์[1]เป็นบุตรของ จ่าสิบตำรวจ ฟ้อน และ นางสงวน สังขทรัพย์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์, ชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

พ.ต.อ.กฤช สังขทรัพย์ สมรสกับนางสมบูรณ์ สังขทรัพย์ มีบุตร-ธิดา 5 คน โดยบุตรคนกลางคือ ทศพล สังขทรัพย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย

การทำงาน[แก้]

พ.ต.อ. กฤช เริ่มรับราชการด้วยการเป็นพลตำรวจ ที่ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2490 และเจริญหน้าที่ในการรับราชการตำรวจ จนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสำคัญ ทั้ง ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย, จังหวัดเพชรบุรี และ จังหวัดกำแพงเพชร ก่อนที่จะลาออกจากราชการ ใน พ.ศ. 2519

งานการเมือง[แก้]

พ.ต.อ.กฤช เริ่มเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาการปฏิรูปปกครองแผ่นดิน ในช่วง พ.ศ. 2519 ถึง 2520 และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2520 ถึง 2522 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เลย สมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522

ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[2] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524 ในขณะที่พันตำรวจเอกกฤช และคณะเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการหลวงอ่างขาง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เกิดเหตุการณ์เครื่องเฮลิคอปเตอร์เกิดขัดข้องจนตกในหุบเขา ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุที่ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 5 กันยายน 2524. โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2524
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  3. กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1
  4. "Thai Air Accidents (1980 to 1989)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๙๔ ง หน้า ๔๒๓๒, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๕๐๒, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๑๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘