เจริญ คันธวงศ์
เจริญ คันธวงศ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | ประจวบ ไชยสาส์น |
ถัดไป | อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2476 (87 ปี) จังหวัดลำปาง |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2518 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เพ็ญธิรา คันธวงศ์ |
เจริญ คันธวงศ์ (ร้อยตรี เจริญ คันธวงศ์) กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ[แก้]
ร้อยตรี เจริญ คันธวงศ์ หรือ ดร.เจริญ คันธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายคำมูลและนางน้อย คันธวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปริญญาเอก การบริหารอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา[2]
การเมือง[แก้]
ฝ่ายนิติบัญญัติ[แก้]
ดร.เจริญ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร ในเขตคลองเตย ยานนาวาและบางคอแหลมมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 8 สมัย โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด มีเพียงครั้งเดียวที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งคือ ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งกระแสพรรคพลังธรรมมาแรงในเวลานั้น และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ได้ย้ายไปลงในระบบบัญชีรายชื่อ
เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
ในปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายาให้ ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็น "คนดีศรีสภาฯ" เนื่องจากได้ลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาถึง 88 ครั้งจากจำนวน 100 ครั้ง แม้ว่าจะต้องรักษาตัวจากอาการโรคมะเร็ง[4] และในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13[5] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย
ฝ่ายบริหาร[แก้]
เจริญ คันธวงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[6] ต่อมาปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน[7]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แทนนายปราโมทย์ สุขุม ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง
ธุรกิจ[แก้]
ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
วิชาการ[แก้]
ดร.เจริญ คันธวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2505 โดยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกด้วยวัยเพียง 29 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และได้รับการยกย่องให้เป็น "อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง" หรือ Emeritus (เอเมริตุส)[8] อีกทั้งยังมีอาคารเพื่อเป็นการรำลึกถึงคือ อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไทด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2532 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2531 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานักการเมืองประจำปี
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
- ↑ อธิการบดีกิตติคุณ จากเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดลำปาง
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.