หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ)
หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลโท จิร วิชิตสงคราม |
ถัดไป | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2438 |
เสียชีวิต | 6 เมษายน พ.ศ. 2519 |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพันตรี ควง อภัยวงศ์ และรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ประวัติ
[แก้]พลเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก แล้วเข้ารับราชการในกองทัพบก ขณะมียศเป็น พันตรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชาตินักรบ รับราชการมียศสูงสุดที่ พลโท
พ.ศ. 2490 พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพันตรี ควง อภัยวงศ์ และลาออกพร้อมคณะรัฐมนตรี[1] พ.ศ. 2491 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้งในรัฐบาลพันตรี ควง อภัยวงศ์ แต่ก็ต้องลาออกในไม่มีเดือนถัดมาเนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง[2] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้งในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเพราะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับถาวร) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[6]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 19 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๓๗, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๔๙, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘