ปานปรีย์ พหิทธานุกร
ปานปรีย์ พหิทธานุกร | |
---|---|
ปานปรีย์ใน พ.ศ. 2567 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 239 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล ดอน ปรมัตถ์วินัย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ |
ถัดไป | ภูมิธรรม เวชยชัย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ พิชัย ชุณหวชิร อนุทิน ชาญวีรกูล พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 28 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 240 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | ดอน ปรมัตถ์วินัย |
ถัดไป | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ |
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 35 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ถัดไป | เกียรติ สิทธีอมร |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2553 (1 ปี 276 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2500 อำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ปวงชนชาวไทย (2525–2532) เอกภาพ (2532–2537) ชาติพัฒนา (2537–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปวีณา พหิทธานุกร |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย |
ลายมือชื่อ | |
ปานปรีย์ พหิทธานุกร (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น ตั๊ก เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ ในรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ประวัติ
[แก้]ปานปรีย์ พหิทธานุกร เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2500[1] ที่อำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของปรีชา พหิทธานุกร และบุญทิวา พหิทธานุกร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (รุ่น 90)[2] จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อและจบปริญญาตรีที่คณะคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และปริญญาเอกด้านการบริหารจัดการภาครัฐจาก Claremont Graduate University
ปานปรีย์ สมรสกับ ปวีณา พหิทธานุกร (สกุลเดิม หงษ์ประภาส) หลานตาของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีบุตรสาวคือ ปัทมรัตน์ พหิทธานุกร สมรสกับ พสุ ลิปตพัลลภ บุตรชายของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
การทำงาน
[แก้]ปานปรีย์เริ่มทำงานเป็นข้าราชการที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน และเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[1] เมื่อพลเอกชาติชาย ถูก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ปฎิวัติในปี 2534 ปานปรีย์ขณะนั้นเป็นเลขาธิการพลเอกชาติชาย เป็นหนึ่งในคนที่ถูกจองจำที่สโมสรกองทัพอากาศเป็นเวลา 15 วัน[3][4] [5]
ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ในปี พ.ศ. 2545 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2548 ได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศ BIMST-EC) และในปี พ.ศ. 2547 เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรม มีบทบาทสำคัญในการวางแผน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่ออุตสาหกรรมใน Eastern Seaboard จนเป็นผลสำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย และได้รับมอบให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการค้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรี และประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า
ในปี พ.ศ. 2551 เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (ลำดับที่ 1) รับผิดชอบในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และเป็นกรรมการยุทธศาสตร์พรรค (7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2553)
ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ปานปรีย์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ถูกทาบทามให้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ[6] แต่ก็ไม่ได้ตอบรับเข้าทำหน้าที่ดังกล่าว
ในปี พ.ศ. 2566 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ปานปรีย์เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน[7]
ในปี พ.ศ. 2567 หลังการปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในวันที่ 27 เมษายน ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน เขาพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เขาลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในวันเดียวกัน[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 รู้จัก"ปานปรีย์ พหิทธานุกร" ว่าที่รองนายกฯ คุมเศรษฐกิจ-ตปท. ดีกรีไม่ธรรมดา
- ↑ "ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร อสช 26047 รุ่น 90". สมาคมอัสสัมชัญ. สืบค้นเมื่อ 8 September 2023.
- ↑ "รู้จัก 'ปานปรีย์' เข็มทิศการต่างประเทศ ยุคสร้างสมดุล 'ภูมิรัฐศาสตร์'". bangkokbiznews. 2023-09-05.
- ↑ "รัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 จากพ่อสู่ลูก "คงสมพงษ์" ที่ยืนยง "ปกป้องราชบัลลังก์"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-04-30.
- ↑ "เปิดชีวิต'ปานปรีย์ พหิทธานุกร'ก่อนวัย70 : เรื่องเศรษฐกิจ คืองานที่อยากทำ". bangkokbiznews. 2023-02-13.
{{cite web}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 73 (help) - ↑ รู้จัก “ปานปรีย์ พหิทธานุกร” ว่าที่ผู้นำทัพ ”พรรคไทยรักษาชาติ" ที่แท้ลูกหม้อพรรคเพื่อไทย?
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ "ด่วน "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" ลาออกจากรัฐมนตรีต่างประเทศ มีผลวันนี้ 28 เม.ย.67". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ปานปรีย์ พหิทธานุกร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล ดอน ปรมัตถ์วินัย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 - 27 เมษายน พ.ศ. 2567) |
พิชัย ชุณหวชิร | ||
ดอน ปรมัตถ์วินัย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 - 28 เมษายน พ.ศ. 2567) |
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ผู้แทนการค้าไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์