ประยูร สุรนิวงศ์
ประยูร สุรนิวงศ์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม 2533 – 9 ธันวาคม 2533 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป |
|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 ดำรงตำแหน่งร่วมกับสมาน ภุมมะกาญจนะ | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | สมาน ภุมมะกาญจนะ |
ถัดไป | วีระ สุสังกรกาญจน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (65 ปี) |
พรรค | ปวงชนชาวไทย |
คู่สมรส | วีนัส สุรนิวงศ์ |
ประยูร สุรนิวงศ์ (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 4 สมัย
ประวัติ[แก้]
ประยูร สุรนิวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 เป็นบุตรคนโต ของนายเมธี กับนางคำบุ้น สุรนิวงศ์ มีน้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาโทสาขาเดียวกัน จาก มหาวิทยาลัย Indiana ประเทศสหรัฐอเมริกา[1]
ประยูร สมรสกับนางวีนัส สุรนิวงศ์ (สกุลเดิม : ปัทมดิลก) มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นายปณิธิ สุรนิวงศ์ และ นางสาวอรวิชชา สุรนิวงศ์
การทำงาน[แก้]
หลังจากจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรประโยคครูประถม ประยูรได้ทำการสอนในโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี
ต่อมาเข้าเริ่มรับราชการที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน เมื่อพ.ศ. 2500 หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ก็ได้ย้ายไปสอนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ระหว่างนั้นได้ไปช่วยราชการที่วิทยาลัยครูเทพสตรี แล้วก็ย้ายกลับไปสอนที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
จนกระทั่งได้โอนไปเป็นอาจารย์ที่คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก่อนที่จะลาออกใน พ.ศ. 2512 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีนั้น แต่เมื่อไม่ได้รับเลือกตั้งจึงกลับเข้ารับราชการตามเดิม และได้ลาออกจากราชการอีกครั้งใน พ.ศ. 2518 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง[2]
งานการเมือง[แก้]
ประยูร ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 4 สมัย[3]
ประยูร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 (ครม.45)[4] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 (ครม. 46) ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5]
ประยูร เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับเลียง ไชยกาล ในชื่อพรรคประชาชน และเป็นกรรมการบริหารพรรค[6] ต่อมาเข้าร่วมงานกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย[7] ต่อมาเป็นเลขาธิการพรรค[8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ประยูร สุรนิวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
ประยูร สุรนิวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 สิริอายุ 65 ปี 3 เดือน 5 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ ประวัติครู ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓. สำนักงานเลขาครุสภา. 2563
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/171/86.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2023
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- บุคคลจากอำเภอกุดจับ
- ครูชาวไทย
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2490)
- พรรคพลังใหม่
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคพลังธรรม
- บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
- บุคคลจากคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.