สง่า กิตติขจร
สง่า กิตติขจร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2514 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 |
เสียชีวิต | 21 กันยายน พ.ศ. 2537 (75 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงระวิ กิตติขจร |
พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย
ประวัติ
[แก้]พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางลิ้นจี่ โสภิตบรรณารักษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน หนึ่งในนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นพี่ชาย
ชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงระวิมีบุตร-ธิดา 3 คน มีหญิง 1 คน ชาย 2 คน
ยศและตำแหน่ง
[แก้]พลตำรวจตรีสง่าได้รับพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2483 ขณะเป็นนักเรียนนายร้อยก่อนจะได้รับพระราชทานยศและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2483 - ร้อยตำรวจตรี[1]
- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2486 - ร้อยตำรวจโท[2]
- 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 - ร้อยตำรวจเอก[3]
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2496 - พันตำรวจตรี[4]
- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - พันตำรวจโท[5]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2502 - พันตำรวจเอก[6]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - พลตำรวจตรี[7]
งานการเมืองและจุดยืนทางการเมือง
[แก้]พล.ต.ต. สง่า เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2509 ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร[8] เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[10] (ส.ส.เชียงใหม่) สังกัดพรรครวมไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2513 แทนนายจิตติ สุจริตกุล ที่ถึงแก่อนิจกรรม[11]
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ [12]
แม้จะเป็นน้องชายของจอมพลถนอม กิตตขจร แต่พล.ต.ต.สง่า กลับมีจุดยืนทางการเมืองตรงกันข้ามกับพี่ชายตนเอง โดยหลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ที่ทางพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอมได้รับเสียงข้างมาก และได้รับการจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกจากจังหวัดตรัง (ส.ส.ตรัง) ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นฝ่ายค้าน ได้ทำการอภิปรายรัฐบาลอย่างโดดเด่น แม้จะมีเนื้อหาที่เชือดเฉือนการทำงานของรัฐบาล แต่ พล.ต.ต.สง่า ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคสหประชาไทยกลับเอ่ยชมว่า "เป็นความหวังของสภาฯ และเป็นบุคคลที่พรรคสหประชาไทยต้องการตัว" [13]
อีกทั้งก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ไม่นาน พล.ต.ต.สง่าได้แสดงความเห็น ขณะที่อยู่ที่บ้านพักในจังหวัดลำปางว่า รัฐบาลควรจะฟังเสียงของประชาชนและควรจะให้มีรัฐธรรมนูญตามที่ประชาชนเรียกร้อง อีกทั้งยังได้เป็นผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่มีจำนวน 100 คนอีกด้วย และยังกล่าวชม นายธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่เป็นแกนนำในการเรียกร้องว่า เป็นเด็กเก่ง สามารถสอบเป็นที่หนึ่งของประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่พ่อเป็นเพียงนายตำรวจชั้นประทวน[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[16]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2512 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3) [17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของสง่า กิตติขจร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๑๐๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๘๔๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๙๐๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา โดย เริงศักดิ์ กำธร (พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
- ↑ ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- สกุลกิตติขจร
- ตำรวจชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคสหประชาไทย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5