ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [1] รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส. หลายสมัย เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดสงขลา เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรองนายกรัฐมนตรี
ประวัติการศึกษา[แก้]
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2510 และระดับปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2518
การเมือง[แก้]
ไตรรงค์ หรือที่มักเรียกกันว่า ดร.ไตรรงค์ เป็นเลขานุการส่วนตัวของ ศาสตราจารย์ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เมื่อครั้ง ศ.ดร.ป๋วย ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอยู่ในมหาวิทยาลัยในเช้าวันเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาด้วย และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายอนุรักษนิยมพร้อมกับ ศ.ดร.ป๋วย
ต่อมา ไตรรงค์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ในจังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นโฆษกรัฐบาลยุค พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี บทบาทของ ดร.ไตรรงค์ โดดเด่นมาก จนได้รับฉายาว่า "โฆษกสามสี " (มาจากชื่อของเจ้าตัว ที่แปลว่า สามสี)
จากนั้น ไตรรงค์ ได้รับเลือกตั้งมาโดยตลอด บทบาทในรัฐสภาของ ดร.ไตรรงค์ นับว่าโดดเด่นมาก เนื่องจากเป็นนักอภิปรายที่เมื่ออภิปรายครั้งใดแล้ว สื่อมวลชนและผู้ที่ติดตามการเมืองจะให้ความสนใจ เพราะเป็นผู้ที่อภิปรายเก่ง น่าติดตาม และมีมุขตลกซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะเป็นสีสันได้อีกมาก เช่น เมื่อในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ดร.ไตรรงค์ได้อภิปราย ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น โดยบอกว่า "ผู้ที่จะทำงานหน้าที่นี้ต้องมีวิสัยทัศน์สูง ต้องมองลงมาจากที่สูง ฉะนั้น คืนนี้กลับไปบินซะ"
ไตรรงค์ เคยมีนายทหารติดตาม และทำหน้าที่ช่วยงานประจำคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล[2]
จากความที่เป็นนักพูดที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้นี้ ทำให้น้ำเสียงที่ติดสำเนียงใต้และลีลาการพูดจาในแบบฉบับของ ดร.ไตรรงค์ ถูกเลียนแบบตามในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในสายบันเทิง หรือในรายการล้อการเมืองเสมอ ๆ โดยผู้ที่เลียนเสียงของ ดร.ไตรรงค์ ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น [3]
ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ปรับโครงสร้างของผู้บริหารพรรค ดร.ไตรรงค์ ได้รับเลือกให้เป็นรองหัวหน้าพรรค
ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ชื่อของ ดร.ไตรรงค์ ในฐานะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ถูกอ้างอิงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีมีสมาชิก ของพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันขัดขวางการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรับสมัคร จ.สงขลา ซึ่งเป็นมูลเหตุอ้างอิงที่จะให้มีคำสั่งยุบพรรค แต่ในที่สุดมีคำวินิจฉัยคือ กรณีดังกล่าวไม่สามารถรับฟังได้ว่า ดร.ไตรรงค์ มีส่วนร่วมในกรณีดังกล่าว[4]
รัฐบาลเงา[แก้]
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[5]
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง[แก้]
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544
- สมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2524-2529
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[6] ปี พ.ศ. 2531-2534
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปี พ.ศ. 2535-2537[7]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2537-2538
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปี พ.ศ. 2540-2541
- รองนายกรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2542, 2553
- รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2551
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน เมื่อ พ.ศ. 2532 เป็น นายกองเอก ไตรรงค์ สุวรรณคีรี[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
---|
| คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 10 ถึง 49 | | |
---|
| คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 50 ถึง 59 | |
---|
| คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 60 ถึงปัจจุบัน | |
---|
|
|
---|
| กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม |
---|
| |
| | | |
|
|
---|
| เสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ |
---|
| |
| | เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ |
---|
| |
| | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
---|
| |
|
|
|
---|
| | | บุคคลสำคัญ | แกนนำ | |
---|
| โฆษก | |
---|
| เชื้อพระวงศ์ | |
---|
| การเมือง | |
---|
| กวี/นักร้อง/ นักแสดง | |
---|
| สื่อมวลชน | |
---|
| ข้าราชการ | |
---|
| แพทย์ | |
---|
| ทหาร/ตำรวจ | |
---|
| นักวิชาการ | |
---|
| นักบวช | |
---|
| นักกฎหมาย | |
---|
| อื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
| สื่อ | |
---|
| เครือข่าย | |
---|
|