ศรชัย มนตริวัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี
ศรชัย มนตริวัต
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (77 ปี)
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
พรรค ไทยรักษาชาติ
คู่สมรส พ.ต.หญิง รำไพพรรณ มนตริวัต

พลตรี นายกองเอก[1] ศรชัย มนตริวัต หรือ เสธ.นิด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และอดีตเลขาธิการพรรคนำไทย พลตรีศรชัย เป็นนักการเมืองคนสนิทของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2]

ประวัติ[แก้]

ศรชัย มนตริวัต เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของพลตำรวจตรี ขุนพิชัยมนตริวัต กับนางองุ่น มนตริวัต[3] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย และปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยไอดาโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านครอบครัวสมรสกับ พันตรีหญิง รำไพพรรณ มนตริวัต (เสียชีวิต)

การทำงาน[แก้]

ศรชัย มนตริวัต เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึงปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคนำไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย ตามลำดับ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จึงได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ่ายให้กับนายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร จากพรรคประชาธิปัตย์

ศรชัย มนตริวัต เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่งอาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2539 ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2540 เป็นเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านฯ พ.ศ. 2541 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ปี พ.ศ. 2544

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/003/79.PDF
  2. "พลเอกชวลิต ลาออก เพราะถูกแรงกดดันจากฝ่ายความมั่นคง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
  4. ส่องสนาม วันที่ 5 มิถุนายน 2554จากเดลินิวส์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๓, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๕