ข้ามไปเนื้อหา

เกษม วัฒนชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(8 ปี 0 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(15 ปี 141 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(0 ปี 115 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ถัดไปทักษิณ ชินวัตร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
21 มกราคม พ.ศ. 2532 – 20 มกราคม พ.ศ. 2535
(2 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าอาวุธ ศรีสุกรี
ถัดไปโชติ ธีตรานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2484 (83 ปี)
อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2544)
คู่สมรสคุณหญิง รัชนีวรรณ วัฒนชัย
อาชีพอาจารย์, นักการเมือง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี, ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[1], นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล[2], นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่[3], ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ในอดีตได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร สมรสกับคุณหญิง รัชนีวรรณ วัฒนชัย

ประวัติการศึกษา

[แก้]

หน้าที่การงาน

[แก้]

ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์โท ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2511 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง เช่น

  • พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2527 หัวหน้าหน่วยวิชาโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นผู้ริเริ่มการส่งนักศึกษาแพทย์ไปอยู่ร่วมกับชาวไทยภูเขาเพื่อให้สัมผัสกับวิถีชีวิตและความยากลำบากของประชาชนในถิ่นธุรกันดาร ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจุดประกายการสร้างแพทย์ชนบทขึ้นในประเทศไทย
  • รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • สมาชิกวุฒิสภา[4]
  • ประธานสภาวิชาการ

ในปี พ.ศ. 2544 ศ.นพ.เกษม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (สมัยแรก) ก่อนที่จะขอลาออกเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนของปีเดียวกัน หลังจากรับตำแหน่งเพียง 3 เดือน จากนั้นในวันที่ 18 กรกฎาคม ของปีเดียวกัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[5]

นอกจากนี้ยังได้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 8 ระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (ขอลาออก)[6] และระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  2. นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  3. นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายเกษม วัฒนชัย, นายพลากร สุวรรณรัฐ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๔ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร เก็บถาวร 2020-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๖ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๗๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘
ก่อนหน้า เกษม วัฒนชัย ถัดไป
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ (ครม.54)
(17 กุมภาพันธ์ - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2544)
ทักษิณ ชินวัตร
ศาสตราจารย์ นายแพทย์
อาวุธ ศรีศุกรี
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(21 มกราคม พ.ศ. 2532 - 20 มกราคม พ.ศ. 2535)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์
โชติ ธีตรานนท์
ชุมพล พรประภา
(สมัยที่ 5)
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 7 สมัยที่ 1
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
เกษม สุวรรณกุล
เกษม สุวรรณกุล นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 7 สมัยที่ 2
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547)
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
(สมัยที่ 1)