เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) น.ร., ป.จ., ม.ป.ช., ป.ม., ม.ร., จ.ป.ร.3, ว.ป.ร.2 | |
---|---|
![]() | |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2457 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
ถัดไป | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 เมษายน พ.ศ. 2399 |
เสียชีวิต | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 (65 ปี) |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ปีปฏิบัติงาน | 2415 - 2464 |
ยศ | ![]() |
จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) (14 เมษายน พ.ศ. 2399 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นโอรสในหม่อมเจ้านิล ฉัตรกุล (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์) กับหม่อมราชวงศ์ สุ่น ปาลกะวงศ์ (นัดดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์)
ประวัติการรับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2415 ถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก โดยเป็นพลทหารอยู่ในกองร้อยที่ 6 และได้เลื่อนเป็น สิบตรี และสิบโททหารมหาดเล็กกองร้อยที่ 5
- พ.ศ. 2421 ย้ายไปรับราชการอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่
- 9 เมษายน พ.ศ. 2432 ปลัดกองโรงเรียนนายร้อย ขณะมียศเป็นนายร้อยเอก[1][2]
- พ.ศ. 2435 ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย[3]
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เลื่อนยศเป็นนายพันตรี[4]
- 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิเศษเดชาวุธ ถือศักดินา 800[5]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 เป็นราชองครักษ์ประจำการ[6]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2441 เลื่อนเป็นพระสรวิเศษเดชาวุธ ถือศักดินา 1000 [7]
- พ.ศ. 2442 ผู้บัญชาการทหารบกมณฑลกรุงเทพ[8]
- 15 สิงหาคม พ.ศ. 2442 เลื่อนยศเป็นนายพันโท[9]
- สิงหาคม พ.ศ. 2443 ยกกระบัตรทัพบก[10]
- 21 กันยายน พ.ศ. 2443 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพหลพลพยุหเสนา ถือศักดินา 1500[11]
- 3 เมษายน พ.ศ. 2444 นายพันเอก[12]
- 11 สิงหาคม พ.ศ. 2444 ปลัดทัพบก[13]
- 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 นายพลตรี[14]
- 6 สิงหาคม พ.ศ. 2446 รองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[15]
- 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสีหราชเดโชไชย อภัยพิริยบรากรมพาหุ เจ้ากรมอาสาใหญ่ขวา ถือศักดินา 10,000[16]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2449 นายพลโท[17]
- ธันวาคม พ.ศ. 2453 ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม[18]
- 22 มกราคม พ.ศ. 2454 นายพลเอก[19]
- รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมพระคชบาล
- พ.ศ. 2455 ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต มหิศรมหาสวามิภักดิ์ สุรินทรศักดิ์ประพัทธพงษ์ จัตุรงคเสนาบดี ยุทธวิธีสุขุมวินิต ธรรมสุจริตศิริสวัสดิ์ พุทธาพิรัตนสรณธาดา อุตมอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[20]
- 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม[21]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2457 เสนาบดีกระทรวงกลาโหม[22]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 จอมพล[23]
อสัญกรรม[แก้]
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต ป่วยมาช้านาน อาการทรงบ้างทรุดบ้างเรื่อยมา จนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 เวลา 14.35 น. สิริอายุได้ 65 ปี 133 วัน
เวลา 16.00 น. วันถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำอาบศพ สวมชฎาพอก และโปรดให้เจ้าพนักงานประกอบโกศมณฑปแวดล้อมด้วยฉัตรและเครื่องยศ พระพิธีธรรม 8 รูป สวดพระอภิธรรมมีกำหนด 15 วัน[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญและเข็มที่ได้รับพระราชทาน[แก้]
- พ.ศ. 2463 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2457 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
- พ.ศ. 2455 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2459 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2447 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[25]
- พ.ศ. 2463 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)
- พ.ศ. 2441 -
เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)
- พ.ศ. 2462 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[26]
- พ.ศ. 2436 -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[27]
- พ.ศ. 2454 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2457 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2436 -
เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา
- พ.ศ. 2440 -
เหรียญประพาสมาลา
- พ.ศ. 2446 -
เหรียญทวีธาภิเศก
- พ.ศ. 2450 -
เหรียญรัชมงคล
- พ.ศ. 2451 -
เหรียญรัชมังคลาภิเษก (ทอง)
- พ.ศ. 2454 -
เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง)
- พ.ศ. 2450 - เข็มอักษรรักษาพระนครเสด็จประพาสยุโรปคราวหลัง
- พ.ศ. 2452 - เข็มพระชนมายุสมมงคล (ทอง)
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - เข็มข้าหลวงเดิม[29]
- พ.ศ. 2430 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[30]
- พ.ศ. 2444 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[31]
ผลงานสำคัญ[แก้]
- พ.ศ. 2429 ปราบอั้งยี่ที่ตำบลดอนกระเบื้อง แขวงเมืองราชบุรี
- พ.ศ. 2446 ปราบเงี้ยว ที่ก่อการจลาจลขึ้นในมณฑลพายัพ ในเวลานั้น จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชขณะเป็น ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เสด็จไปราชการ ณ ทวีปยุโรปเจ้าพระยาบดินทรเดชา (ขณะมีบรรดาศักดิ์ เป็นพระยา) รั้ง ราชการกรมยุทธนาธิการ จึงต้องรับหน้าที่จัดกองทหารขึ้นไปปราบเงี้ยว และสามารถจัดการได้เรียบร้อยโดยรวดเร็ว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร พลเรือนและทหาร (หน้า 11)
- ↑ ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ ศก 111 (หน้า 256)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า 292)
- ↑ ประกาศกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกรมทหารบก รัตนโกสินทรศก 118
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 20, ตอน 8, 24 พฤษภาคม ร.ศ. 122, หน้า 119
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา, เล่ม 29, ตอน ก, 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 254-256
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวอสัญญกรรม, เล่ม 38, ตอน 0 ง, 28 สิงหาคม 2464, หน้า 1,450-1,451
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม 36, ตอน 0, 25 มกราคม พ.ศ. 2462, หน้า 3318
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 455)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 23 เมษายน พ.ศ. 2454, หน้า 131
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
- ↑ พระราชทานบำเหน็จความชอบแม่ทัพนายกอง และเจ้านครหลวงพระบางทูลลา (หน้า 263)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
|
|