กิตติรัตน์ ณ ระนอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุเทพ เทือกสุบรรณ
ถัดไปพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
วิษณุ เครืองาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
ถัดไปสมหมาย ภาษี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพรทิวา นาคาศัย
ถัดไปบุญทรง เตริยาภิรมย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสเกสรา ณ ระนอง
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
โรงเรียนอัสสัมชัญ

กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)[1] รองหัวหน้าพรรค[2] และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ประธานสโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[3] ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2549

ประวัติ[แก้]

กิตติรัตน์ ณ ระนอง (ชื่อเล่น: โต้ง) เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของเก่ง ณ ระนอง และวิลัดดา (สกุลเดิม หาญพานิช) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2523 และปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับเกสรา ณ ระนอง (สกุลเดิม ธนะภูมิ) บุตรสาวของพลเอก พร และ เรณี ธนะภูมิ มีบุตร 3 คน คือ ต้น, ต่อ และตรี ณ ระนอง[4]

การทำงาน[แก้]

งานธุรกิจ[แก้]

กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นนักธุรกิจชาวไทย และเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังพ้นตำแหน่งได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)[5] ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2551[4]

งานด้านการศึกษา และการกีฬา[แก้]

กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษาเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2553 และอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2554[4]

รวมทั้งเคยเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลชาติไทย ชุด 14 ปี 2002 , ชุดเอเชียนเกมส์ 2006 , ทีมชาติชุดใหญ่ 2008

ในปี พ.ศ. 2566 กิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก ในไทยลีก 3[6]

งานการเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2554 กิตติรัตน์ ณ ระนองได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ)[7] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[8] ปลายปีเดียวกันสื่อมวลชนสายทำเนียบรัฐบาลได้ร่วมกันตั้งฉายาให้นักการเมืองประจำปี ซึ่งกิตติรัตน์ได้รับฉายาว่า "ปุเลง...นอง" จากกรณีที่กิตติรัตน์ร้องไห้เมื่อคราวน้ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคในปี2554

ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 กิตติรัตน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[9] จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว กิตติรัตน์ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าข้อมูลตัวเลขเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่แถลงต่อสื่อมวลชนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือเรียกว่าเป็น "โกหกสีขาว" ต่อมาได้รับการกล่าวถึงในความเหมาะสม และผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยจนนำไปสู่ประเด็นหนึ่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

กิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยจากที่ประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[10]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กิตติรัตน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[11]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[13] และต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้กิตติรัตน์ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ""เศรษฐา" เซ็นตั้ง 9 ที่ปรึกษานายกฯ "กิตติรัตน์" นั่ง ประธาน พ่วงชื่อ "เทวัญ-พิมล-พิชิต"". ไทยรัฐ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  3. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
  4. 4.0 4.1 4.2 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[ลิงก์เสีย]
  5. "คณะกรรมการ ก.ล.ต." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  6. พราม แบงค็อกเปิดตัวสู้ศึกไทยลีก 3 ตั้ง "บิ๊กโต้ง-กิตติรัตน์" นั่งแท่นปธ.สโมสร
  7. แบ่งงานรองนายกฯ "ยงยุทธ" เป็นเบอร์ 1 "เฉลิม" คุมสื่อ-ตำรวจ "โกวิท" ดูแลข่าวกรอง-สมช. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
  8. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (จำนวน 19 ราย)
  11. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  12. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  13. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙, ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (จำนวน ๑,๙๘๒ ราย)
ก่อนหน้า กิตติรัตน์ ณ ระนอง ถัดไป
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ

(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
พรทิวา นาคาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
บุญทรง เตริยาภิรมย์
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
สมหมาย ภาษี