จังหวัดชลบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จังหวัดชลบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chon Buri |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : ปราสาทสัจธรรม, พระจุฑาธุชราชฐาน, ทิวทัศน์เกาะสีชัง, สวนนงนุช, พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์, หาดจอมเทียน | |
คำขวัญ: ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชลบุรีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ธวัชชัย ศรีทอง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4,363 ตร.กม. (1,685 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 50 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,618,066 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 6 |
• ความหนาแน่น | 370.86 คน/ตร.กม. (960.5 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 10 |
รหัส ISO 3166 | TH-20 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ประดู่ (ประดู่ป่า) |
• ดอกไม้ | ประดู่ (ประดู่ป่า) |
• สัตว์น้ำ | ปลาฉลามกบ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนมนตเสวี ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 |
• โทรศัพท์ | 0 3827 5034, 0 3827 9434 |
เว็บไซต์ | http://www.chonburi.go.th |
ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย[2] ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวนประมาณ 1.6 ล้านคน[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันยาวนานของจังหวัดชลบุรี
สมัยประวัติศาสตร์
[แก้]ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรีประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว จึงรวมเมืองพนัสนิคมและเมืองบางละมุงขึ้นต่อเมืองชลบุรี อยู่ในสังกัดมณฑลปราจีน ดังมีบันทึกว่า
"รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1, เมืองนครนายก 1, เมืองพนมสารคาม 1 และเมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม, เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม"
ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด
อนึ่งเมืองพนัสนิคมยุบเป็นอำเภอพนัสนิคมก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอเกาะจันทร์และบางตำบลของอำเภอบ้านบึง เมืองบางละมุงยุบเป็นอำเภอบางละมุง ก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอศรีราชา, อำเภอสัตหีบ และเมืองชลบุรีเป็นเมืองศูนย์กลางจังหวัดและได้แยกออกเป็นอำเภอบ้านบึง
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดา ถึง 13 องศา 43 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 45 ลิปดา ถึง 101 องศา 45 ลิปดาตะวันออก และมีอาณาเขตจรดจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย
ภูมิประเทศ
[แก้]จังหวัดชลบุรีมีภูเขาทอดอยู่เกือบกลางของจังหวัดเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล ตอนเหนือเป็นที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม ทิศตะวันออกและทิศใต้เดิมเป็นป่าเขาพื้นที่ลุ่มดอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากป่าไม้เป็นที่โล่งเตียนใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว สับปะรด ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะพบแหล่งเพาะปลูกเกือบทุกอำเภอ มีชายฝั่งทะเลและหาดสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง เช่น ชายหาดบางแสน พัทยา เป็นต้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพนัสนิคม และส่วนใหญ่ของอำเภอพานทองจะเป็นดินเหนียว และดินตะกอน แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยจึงมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำประกอบกับมีการบุกรุกแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย
ภูมิอากาศ
[แก้]สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาลแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่[3]
- ฤดูร้อน เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างอบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด
- ฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตกหนักในเขตป่าและภูเขา
- ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด ทว่าเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตร ในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน
หน่วยการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]จังหวัดชลบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้
ลำดับ [# 1] |
ชื่ออำเภอ | อักษรโรมัน | ชั้น [4] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ห่างจากศาลากลาง (กม.)[5] |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) |
ตำบล [# 2][6] |
หมู่บ้าน [# 3][6] |
ประชากร (คน) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | Mueang Chon Buri | พิเศษ | 228.8 |
– | 2481 | 18 | 107 | 347,728 |
||
2 | Ban Bueng | 646.3 |
17 | 2481 | 8 | 52 | 111,423
| |||
3 | Nong Yai | 397.5 |
53 | 2524 | 5 | 24 | 23,936
| |||
4 | Bang Lamung | 727 |
48 | 2444 | 8 | 72 | 339,754
| |||
5 | Phan Thong | 173 |
24 | 2481 | 11 | 76 | 80,613
| |||
6 | Phanat Nikhom | 450.9 |
26 | 2495 | 20 | 185 | 125,851
| |||
7 | Si Racha | 643.558 |
24 | 2437[# 4] | 8 | 73 | 329,770
| |||
8 | Ko Sichang | 17.3 |
37 | 2437 | 1 | 7 | 4,555
| |||
9 | Sattahip | 348.122 |
86 | 2496 | 5 | 40 | 165,003
| |||
10 | Bo Thong | 781.6 |
59 | 2528 | 6 | 47 | 49,835
| |||
11 | Ko Chan | 248.8 |
54 | 2550 | 2 | 27 | 39,598
|
- ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ รวมหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ ในนาม "อำเภอบางพระ"
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]จังหวัดชลบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีเทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง และเทศบาลตำบล 36 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 49 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา[7] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) มีดังนี้
|
|
|
|
- หมายเหตุ
- ก เมืองพัทยาไม่เป็นเทศบาล แต่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- ข เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ทั้งในอำเภอบางละมุงและในอำเภอศรีราชา
เศรษฐกิจ
[แก้]จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน (GPP; Gross Provincial Product at Current Market Prices) 1,173,449 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2565 เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร[8] โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หรือประมาณ 1,151,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 จังหวัดชลบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรม 3,676 แห่ง[9] แบ่งตามประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต อาหาร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ พลาสติก เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ เหล็กและโลหะ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง และนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
ภาคบริการ ได้แก่ การก่อสร้าง การเงินและธุรกิจประกัน การศึกษา การแพทย์ การขายส่งและการขายปลีกฯ การไฟฟ้า แก๊ส การขนส่ง ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า จังหวัดชลบุรีมีท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ[10] ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์[11] ท่าเรือสยามคอมเมอร์เชียลซีพอร์ต ท่าเรือเคอรี่สยามซีพอร์ต
ส่วนภาคเกษตรมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด มูลค่าประมาณ 22,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์การเกษตรได้แก่ มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา สาขาประมงพาณิชย์ สาขาป่าไม้ สาขาปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ และสุกร
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2549 | 1,205,574 | — |
2550 | 1,233,446 | +2.3% |
2551 | 1,264,687 | +2.5% |
2552 | 1,289,590 | +2.0% |
2553 | 1,316,293 | +2.1% |
2554 | 1,338,656 | +1.7% |
2555 | 1,364,002 | +1.9% |
2556 | 1,390,354 | +1.9% |
2557 | 1,421,425 | +2.2% |
2558 | 1,455,039 | +2.4% |
2559 | 1,483,049 | +1.9% |
2560 | 1,509,125 | +1.8% |
2561 | 1,535,445 | +1.7% |
2562 | 1,558,301 | +1.5% |
2563 | 1,566,885 | +0.6% |
2564 | 1,583,672 | +1.1% |
2565 | 1,594,758 | +0.7% |
2566 | 1,618,066 | +1.5% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[12] |
ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จังหวัดชลบุรีมีประชากร 1,618,066 คน[1] คิดเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 787,986 คน และประชากรเพศหญิง 830,080 คน[1] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 370.86 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ อำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีความหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรอาศัยอยู่ 347,728 คน มีความหนาแน่น 1,519.79 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอเกาะสีชัง มีประชากรอาศัยอยู่ 4,555 คน ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอหนองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 60.22 คนต่อตารางกิโลเมตร
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2558[13] ประชากรจังหวัดชลบุรีประมาณร้อยละ 97.87 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นศาสนาอิสลามร้อยละ 1.56 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.60
สถิติประชากรทางทะเบียนราษฎร ปี 2566 จังหวัดชลบุรีมีจำนวนประชากรเกิดเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย จำนวน 22,254 คน รองจากกรุงเทพมหานคร[14]
ศาสนา | จำนวน (คน)[13] | ร้อยละ |
---|---|---|
พุทธ | 1,256,081 | 97.87 |
อิสลาม | 20,000 | 1.56 |
คริสต์ | 7,707 | 0.60 |
อื่น ๆ | 800 | 0.06% |
การขนส่ง
[แก้]จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมที่ดีจังหวัดหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบการขนส่งทั่วถึงและสะดวกทั้งการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ รวมทั้งมีการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมันและสารเคมี การขนส่งของจังหวัดชลบุรีในปัจจุบันอาศัยทางบกเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
จังหวัดชลบุรีมีท่าอากาศยานขนาดเล็ก 1 แห่งคือ สนามบินบางพระ ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา เป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับเครื่องบินลำเล็ก จึงไม่ได้เปิดให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป
เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการขนส่งทางทะเล กล่าวคือด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นชายฝั่งที่มีแนวยาวระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยหลายแห่งเป็นชายหาดที่งดงาม และบางแห่งเหมาะจะเป็นท่าจอดเรือ ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของจังหวัดมีท่าเทียบเรือประมงและท่าเทียบเรือสินค้า ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนและท่าเทียบเรือพาณิชย์สำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าเลียบตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ
การขนส่งทางรถไฟของจังหวัดชลบุรีอาศัยเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร–ฉะเชิงเทรา–ศรีราชา เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
การขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบการคมนาคมสำคัญที่สุดของจังหวัดชลบุรี และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โครงข่ายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยจังหวัดชลบุรีมีถนนที่สร้างเสร็จแล้วเป็นระยะทาง 745.497 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินรวมระยะทาง 745.497 กิโลเมตร และระยะทางต่อ 2 ช่องจราจรคิดเป็นระยะทาง 1,191.408 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของจังหวัดชลบุรี เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7, ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) เป็นต้น
การศึกษา
[แก้]จังหวัดชลบุรีมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
- วิทยาลัยมหาดไทย
- วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคบางแสน (เดิมชื่อ วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี)
- วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์เมืองพัทยา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดาราสมุทรบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจ (CAT)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
- วิทยาลัยวิศวกรรมแหลมฉบัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา
- โรงเรียน
วัฒนธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]ปัจจุบันจังหวัดชลบุรีมีไม่ทีมฟุตบอลอาชีพซึ่งเล่นอยู่ในไทยลีก สำหรับ สโมสรฟุตบอลชลบุรี ซึ่งเป็นทีมในอำเภอเมืองชลบุรี มีผลงานได้เป็นแชมป์ไทยลีกหนึ่งสมัยในปี พ.ศ. 2550 และเป็นตัวแทนได้ไปแข่งขันในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ปัจจุบันลงแข่งขันใน ไทยลีก 2
ส่วนสโมสรฟุตบอลอาชีพอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ พัทยา ยูไนเต็ด (พ.ศ.2566) ลงแข่งขันในไทยลีก 2 ส่วน ราชนาวี, นาวิกโยธิน, กองเรือรบ, สอ.รฝ. เอฟซี และ บีเอฟบี พัทยา ลงแข่งขันในไทยลีก 3
ฟุตซอล
[แก้]จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตซอลที่สร้างชื่อเสียง คือ ทีมชลบุรี บลูเวฟ[16] ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลไทยลีก 11 สมัย
วอลเลย์บอล
[แก้]สโมสรวอลเลย์บอลชลบุรี เป็นสโมสรวอลเลย์บอลชายในจังหวัดชลบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก 2 สมัย ส่วนสโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ชลบุรี เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงในจังหวัดชลบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 3 สมัย
สถานที่สำคัญ
[แก้]- พัทยา
- สวนน้ำรามายณะ
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
- สวนเสือศรีราชา
- อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา
- เขาสามมุข
- แหลมแท่น
- ศาลเจ้านาจาไทจื้อ
- เกาะล้าน
- วัดเครือวัลย์
- หาดบางเสร่
- หาดจอมเทียน
- สวนนงนุช
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
- วัดญาณสังวราราม
- วิหารเซียน
- ปราสาทสัจธรรม
- เมืองจำลอง
- วัดสัตหีบ
- วัดเทพพุทธาราม
- วัดใหญ่อินทาราม
- วัดอุทกเขปสีมาราม
- ตลาดหนองมน
- บางแสน
- เกาะสีชัง
- หาดสัตหีบ
- วัดเกาะลอย
- วัดศรีมหาราชา
- จักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พนัสนิคม)
- หอพนัสบดี
- วัดหน้าพระธาตุ
- วัดโบสถ์ (พนัสนิคม)
- ฐานทัพเรือสัตหีบ
- สะพานชลมารควิถี
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ก้องเกียรติ โขมศิริ
- จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต
- คำรณ หว่างหวังศรี
- จอห์น ดีแลน
- จันทนีย์ อูนากูล
- ชลธิชา อิ่มจรรยา
- ชลาทิศ ตันติวุฒิ
- ชัญษร สาครจันทร์
- ชาตรี ศรีชล
- ชุติมา นัยนา
- ณภศศิ สุรวรรณ
- ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ
- ตัน ภาสกรนที
- ธนา สินประสาธน์
- ธนิน มนูญศิลป์
- ธรรมนูญ ทัศโน
- ธีระศักดิ์ โพธิ์อ้น
- นาตาลี เดวิส
- บรรจบ เจริญพร
- บารมิตา สาครจันทร์
- บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง
- บุปผา สายชล
- ผอูน จันทรศิริ
- ฝันดี-ฝันเด่น
- พนม นพพร
- ภัครมัย โปตระนันท์
- ภาณุเดช วัฒนสุชาติ
- มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย
- เมธัส ตรีรัตนวารีสิน
- รังสิต ศิรนานนท์
- ลลิตา สิงห์โตทอง
- ลือชัย งามสม
- วิวัฒน์ ผสมทรัพย์
- วีรยา จาง
- สุกัญญา มิเกล
- อธิป ทองจินดา
- อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์
- อลิษา ขจรไชยกุล
- อังคณา วรรัตนาชัย
- อาทิตยา ตรีบุดารักษ์
- อุดม แต้พานิช
- อุเทน บุญยงค์
- แอนดรูว์ โคนินทร์
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อวัดในจังหวัดชลบุรี
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดชลบุรี
- รายชื่อโรงภาพยนตร์ในจังหวัดชลบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็น กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 9 เมษายน 2567.
- ↑ "ชลบุรี". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภูมิอากาศจังหวัดชลบุรี" (PDF). สำนักภูมิสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2020.
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครองจังหวัดนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/nonthaburi.htm เก็บถาวร 2013-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
- ↑ กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- ↑ 6.0 6.1 ฐานข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "รายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่อำเภอ เทศบาล อบต. ในแต่ละอำเภอ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A090101.php?id_topic=A0901 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
- ↑ ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. "ตารางผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ อนุกรมเวลา 2538-2563 GPP CVMs Time Series Data 1995-2020 (Excel File)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional 2565. สืบค้น 7 มิถุนายน 2565.
- ↑ รายงานการลงทุนอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
- ↑ "ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ - กองทัพเรือ". www.sattahipcommercialports.com.
- ↑ "SRIRACHA HARBOUR › 25 ปี แห่งประสบการณ์". www.srirachaport.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/เก็บถาวร 2019-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2555. สืบค้น 8 มิถุนายน 2561.
- ↑ 13.0 13.1 ข้อมูลผู้นับถือศาสนาพุทธ ในจังหวัดชลบุรี เก็บถาวร 2020-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี
- ↑ "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์". สืบค้นเมื่อ 2024-05-23.
- ↑ "ชลบุรี ธอส.อาร์แบค ตั้งเป้าเข้ารอบสุดท้ายฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
13°24′N 101°00′E / 13.4°N 101°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดชลบุรี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย