ขุนทอง ภูผิวเดือน
ขุนทอง ภูผิวเดือน ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ |
เสียชีวิต | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (68 ปี) |
คู่สมรส | นางใจดี ภูผิวเดือน |
นายขุนทอง ภูผิวเดือน (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 สมัย
ประวัติ[แก้]
ขุนทอง ภูผิวเดือน เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางใจดี ภูผิวเดือน มีบุตร-ธิดา รวม 9 คน[1]
ขุนทอง ตกเป็นจำเลยฐานทุจริตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 ซึ่งต่อมาศาลสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากจำเลยเสียชีวิต เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 รวมอายุ 68 ปี [2]
การทำงาน[แก้]
เริ่มเข้ารับราชการครูโดยการรักษาในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนประชาบาล ตำบลอีตือ (คำเหมือดแก้วบำเพ็ญวิทยา) ต่อมา พ.ศ. 2508 ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนท่าคันโทวิทยาคม และ พ.ศ. 2509 ย้ายไปศึกษานิเทศก์ฝ่ายสามัญศึกษา ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปี พ.ศ. 2511
งานการเมือง[แก้]
ขุนทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 รวม 6 สมัย [3]
ขุนทอง ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง[8] และได้ลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524[9] แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามารับตำแหน่งเดิมในเดือนต่อมา[10]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ขุนทอง ภูผิวเดือน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2524 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฏ[11]
- พ.ศ. 2525 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก[12]
- พ.ศ. 2523 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ผู้นำท้องถิ่น กาฬสินธุ์
- ↑ ศาลฎีกายกฟ้อง “อดีต พนง.แบงก์-ขรก.ก.ศึกษาฯ” คดีประวัติศาสตร์ทุจริตเครื่องราชฯ
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓