แสวง กุลทองคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสวง กุลทองคำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์
ถัดไปพลตำรวจเอก พิชัย กุลละวณิชย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2544 (90 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงสมจิตร์ กุลทองคำ

แสวง กุลทองคำ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2544)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตปลัดกระทรวงเกษตร และเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการสร้างโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

ประวัติ[แก้]

แสวง กุลทองคำ เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2454 ณ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของนายพิศและนางไกร กุลทองคำ

สมรสกับคุณหญิงสมจิตร์ (โล่ห์นักรบ) มีบุตรธิดา รวม 2 คน

แสวงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 สิริรวมอายุได้ 91 ปี

การศึกษา[แก้]

แสวงสำเร็จการศึกษาและได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) เมื่อ พ.ศ. 2472 ต่อจากนั้นจึงศึกษาปริญญา M.Sc. Utah State University และ ปริญญา Ph.D.Nevada University เมื่อ พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2496 ตามลำดับ

จากนั้นได้ประกาศนียบัตรวิชาพัฒนาการเศรษฐกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) เมื่อ พ.ศ. 2501 และปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีกิตติมศักดิ์ (เศรษฐศาสตร์เกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2514

การทำงาน[แก้]

ดร.แสวง กุลทองคำ รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ หัวหน้ากองเศรษฐกิจการเกษตร รองปลัดกระทรวงเกษตร[2] และปลัดกระทรวงเกษตร (ชื่อในขณะนั้น) ระหว่างปี พ.ศ. 2512 - 2514

ดร.แสวง กุลทองคำ ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตร เป็นผู้รับเอาพระราชดำริฝนหลวงมาจัดตั้งโครงการค้นคว้าและพัฒนาการทำฝนเทียมขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2512[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงบริหารโครงการฝนหลวง โดยทรงตั้งศูนย์อำนวยการซึ่งต่อมาทรงเรียกว่า "ศูนย์ฝนหลวง" ซึ่ง ดร.แสวง กุลทองคำ ได้ร่วมเป็นกรรมการในศูนย์ดังกล่าว[4]

ในปี พ.ศ. 2515 ดร.แสวง กุลทองคำ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร และพ้นจากตำแหน่งเมื่อคราวเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา[5]

นอกจากงานราชการแล้ว ดร.แสวง เป็นนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์ คนแรกของสมาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้ง[6]

ผลงาน[แก้]

ผลงานเขียนบทความ[แก้]

แสวงมีผลงานด้านการเขียนบทความทางด้านการเกษตร และ เศรษฐศาสตร์การเกษตร มากกว่า 20 เรื่อง เช่น - ความมั่นคงของชาติด้านการเกษตร - การเกษตรของประเทศไทย - เศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย - ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้าวไทยในอนาคต

ผลงานวิจัย[แก้]

แสวงมีผลงานวิทยานิพนธ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรหลายเรื่อง อาทิ วิธีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของการปลูกยางพาราในประเทศไทย, งานวิจัยการผสมพันธุ์ข้าว พันธุ์ฝ้าย พันธุ์ปอแก้ว เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้ขุดบ่อบาดาลนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2496

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  2. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/y06b04.pdf
  3. น้ำพระทัยหยาดจากฟ้า โครงการพระราชดำริฝนหลวง
  4. ที่มาและความสำคัญ เก็บถาวร 2020-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน
  5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๒
  6. ประวัติความเป็นมา จาก สมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔