สำเภา ชูศรี
พลเอก สำเภา ชูศรี ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.จ.ว. | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2544 | |
ก่อนหน้า | พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ |
ถัดไป | พลเรือเอกณรงค์ ยุทธวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
คู่สมรส | คุณหญิงธนวันต์ ชูศรี (วิไลจิตต์) |
บุตร | สำคัญ ชูศรี, ณัฐวดี ชูศรี |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
พลเอก สำเภา ชูศรี (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[1] อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ประวัติ[แก้]
พลเอก สำเภา ชูศรี (Sampao Choosri) เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 สมรสกับคุณหญิงธนวันต์ ชูศรี (Thanawan Choosri)(สกุลเดิม วิไลจิตต์) มีบุตรธิดา 2 คน คือ นางสาวณัฐวดี ชูศรี (Natwadee Choosri) และ นายสำคัญ ชูศรี (Samkhan Choosri) มีหลานทั้งหมด 4 คนคือ เด็กหญิง พริมา ชูศรี (Parima Choosri) เด็กหญิง ลลิล ชูศรี (Lalil Choosri) เด็กหญิง ณิชา กเบรียลลา แทน (Nisha Gabriella Tan) และ เด็กชาย กาวิน แทน (Gavin Tan)
การศึกษา[แก้]
- พ.ศ. 2500 โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2501 โรงเรียนเตรียมทหาร
- พ.ศ. 2503 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ. 2504 โรงเรียนนายร้อยแซ็งซีร์ (Saint Cyr) กองทัพบกประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี)
- โรงเรียนภาษาฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี)
- โรงเรียนทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 1 ปี)
- พ.ศ. 2513 โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารปืนใหญ่รุ่นที่ 13
- พ.ศ. 2514 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 51
- พ.ศ. 2527 กรมยุทธศึกษาทหารบก หลักสูตรเตรียมการสำหรับผู้บังคับหน่วย รุ่นที่ 1/27
- พ.ศ. 2536 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6
ดูงานต่างประเทศ[แก้]
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกฝรั่งเศส
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเบลเยี่ยม
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเยอรมัน
- โโรงเรียนเสนาธิการทหารบกอังกฤษ
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกญี่ปุ่น
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเกาหลี
- Amed Force University ไทเป
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเวียดนาม
ตำแหน่งรับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2508 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
- พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดสื่อสาร กองร้อยบังคับการและบริการ
- พ.ศ. 2513 นายทหารคนสนิท ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ. 2514 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2514 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
- พ.ศ. 2516 รองผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
- พ.ศ. 2520 หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ. 2523 ผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
- พ.ศ. 2525 รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1
- พ.ศ. 2525 รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2
- พ.ศ. 2531 รองผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ. 2533 ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
- พ.ศ. 2539 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2541 รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2542 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2543 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ราชการสงคราม/การปฏิบัติราชการพิเศษ[แก้]
- พ.ศ. 2511 ปฏิบัติราชการพิเศษ ณ ประเทศที่สาม (SR-6)
- พ.ศ. 2512 ปฏิบัติราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
ราชองครักษ์และนายทหารพิเศษ[แก้]
- พ.ศ. 2524, พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2533, พ.ศ. 2536, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539 ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2530 นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที 1
- พ.ศ. 2530 นายทหารรักษาพระองค์ประจำกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2534 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2539 ราชองครักษ์พิเศษ
- พ.ศ. 2540 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2539 สมาชิกวุฒิสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พลเอก สำเภา ชูศรี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2537 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[4]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[5]
- พ.ศ. 2540 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2512 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2519 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
พ.ศ. 2544 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1 [9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/14.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๕๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๔๖, ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 21 ข หน้า 2, 30 พฤศจิกายน 2544
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2484
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ราชองครักษ์เวร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์