เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์
เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มกราคม 2494 – 6 ธันวาคม 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | เลียง ไชยกาล |
ถัดไป | พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2455 อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
เสียชีวิต | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 |
พรรคการเมือง | ประชาชน |
เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม 5 สมัย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 3 สมัย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7 และเขาป็นหนึ่งในคณะผู้ทำการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490[1] และเป็นผู้ตรวจร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวใช้บังคับในขณะนั้น[2]
ประวัติ
[แก้]เขมชาติ เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระสุขุมวินิจฉัย (สมุจย์ บุณยรัตพันธุ์) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอดีตทูตไทยประจำอาร์เจนตินา เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[3]
การเมือง
[แก้]เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 เป็นสมัยแรก และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491
เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (ครม.21) พ.ศ. 2491 ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม[4] และได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลเดิม (ครม.22)[5] และรัฐบาลชุดต่อมา ภายใต้การนำของอมพล ป.พิบูลสงคราม (ครม.23)[6]
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม อีกสมัย (ครม.24) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6 และชุดที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2494[7] ในปีต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อปี พ.ศ. 2511 เขาได้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองกับ นายเลียง ไชยกาล ชื่อ "พรรคประชาชน โดยเขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[11]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุชิน ตันติกุล รัฐประหาร พ.ศ. 2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2515),หน้า 166-171
- ↑ ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ↑ นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายปฐม โพธิแแก้ว นายเขมชาติ บุณยรัตนพันธุ์ นายเลียง ไชยกาล หลวงอรรถพรพิศาล นายเสมอ กัณฑาธัญ)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอน ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๘๙, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๐, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๖, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๑, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2538
- สกุลบุณยรัตพันธุ์
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- นักการทูตชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2490)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.