สันติ์ เทพมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สันติ์ เทพมณี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ก่อนหน้าเทียน อัชกุล
ถัดไปประกอบ ประยูรโภคราช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าบุญศรี ปรีคำ
ถัดไปมนตรี ด่านไพบูลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (96 ปี)
อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสหประชาไทย (2512—2518)
เกษตรสังคม (2518—2519)
ประชาธิปัตย์ (2519—ปัจจุบัน)
คู่สมรสมาลี เทพมณี

สันติ์ เทพมณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 3 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูนคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน

ประวัติ[แก้]

สันติ์ เทพมณี เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของนายสุข เทพมณี อดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (2488—2496) กับนางคำนวณ เทพมณี เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย และปริญญาโททางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[1]

สันติ์ เทพมณี สมรสกับนางมาลี เทพมณี

การทำงาน[แก้]

สันติ์ เทพมณี เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำพูน 9 สมัย เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน 2 สมัย และเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 3 สมัย[1] พ.ศ. 2501 — 2512

สันติ์ เทพมณี เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน 3 สมัยติดต่อกัน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคเกษตรสังคม และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[2] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี 2519

ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543[4] เคยตั้งกระทู้ถามเรื่อง กรณีการช่วยเหลือการขาดสภาพคล่องของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) (บีบีซี) และสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงิน ในปี พ.ศ. 2544[5] และบทบาทอื่นๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 นายสันติ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ด้านสังคมและการศาสนา[แก้]

สันติ์ เทพมณี มีบทบาททางด้านสังคมโดยเคยเป็นกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ต่อเนื่อง 32 ปี เป็นประธานชมรมสามล้อจังหวัดลำพูน และนายกสมาคมกีฬาจังหวัดลำพูน นอกจานั้นยังเป็นไวยาวัจกรวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นนายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย สาขาลำพูน และเคยได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน ปี 2533

สันติ์ เทพมณี ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมต่างๆ หลายครั้ง อาทิ การบริจาคทรัพย์สินให้แก่โรงพยาบาล[6] การให้ทุนการศึกษา[7] การร่วมงานสังคมวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูน[8][9][10] เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ผู้นำท้องถิ่น : ลำพูน[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  3. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดลำพูน (นายสันติ์ เทพมณี)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  5. บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
  6. โรงพยาบาลลำพูน รับมอบรถเข็นแบบนั่ง
  7. https://www.obec.go.th/archives/104630
  8. "กิจกรรมถวายโคมประเพณีลอยกระทงจังหวัดลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
  9. ประชาชนชาวจังหวัดลำพูนร่วมงานประเพณียี่เป็ง ฟังเทศน์มหาชาติ ถวายทานโคมสองหมื่นดวง แด่องค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย ประจำปี ๒๕๕๘
  10. ชาวจังหวัดลำพูนร่วมถวายโคม 25,000 ดวง แด่องค์พระบรมธาตุหริภุญชัย เพื่อน้อมถวายฯ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕