ประสงค์ โฆษิตานนท์
ประสงค์ โฆษิตานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | นายบัญญัต จันทน์เสนะ พลตำรวจโทธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ |
ถัดไป | นายถาวร เสนเนียม นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2486 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | นางวันเพ็ญ โฆษิตานนท์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประสงค์ โฆษิตานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ และสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539
ประวัติ[แก้]
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเงินและการธนาคาร จากสถาบันฟาร์อีสเทอร์น ประเทศฟิลิปปินส์ และระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จากสถาบันเดลลาส ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็นเจ้าของบริษัท อาณาจักรสุโขทัยหินอ่อนและแกรนิต จำกัด และสนิทสนมกับพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์[1]
งานการเมือง[แก้]
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย คือ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539[2] ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการสรรหาสมาชิกวุฒิสภามาเป็นการเลือกตั้ง ซึ่งนายประสงค์ โฆษิตานนท์ ได้ลงสมัครในจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย
ต่อมานายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้เสนอชื่อนายประสงค์ โฆษิตานนท์ รับตำแหน่งรัฐมนตรีในโควตาของพรรคเพื่อแผ่นดิน เนื่องจากนายประสงค์ เป็นนายทุนสนับสนุนพรรค[3] ทำให้นายประสงค์ โฆษิตานนท์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ใน 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[4] และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://hilight.kapook.com/view/27289
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายประสงค์ โฆษิตานนท์ แทนตำแหน่งที่ว่าง)
- ↑ http://www.ryt9.com/s/refb/440161
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |