หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงสุนาวินวิวัฒน์
(พิศาล สุนาวินวิวัฒน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปจอมพล ผิน ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2497
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลตรี บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไปจอมพล ป. พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปพลตรี ศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2495
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์
ถัดไปพลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ในขณะนั้น) ปัจจุบันคือประเทศไทย
เสียชีวิต5 กันยายน พ.ศ. 2518 (80 ปี 35 วัน) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงอารีพันธ์ สุนาวินวิวัฒน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพเรือไทย
ยศ พลเรือโท

พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437- 5 กันยายน พ.ศ. 2518 เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ อดีตรองข้าหลวงนครบาลกรุงเทพธนบุรี

ประวัติ[แก้]

พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 เคยรับราชการในสังกัดกองทัพเรือ มียศสูงสุดที่ พลเรือโท

งานการเมือง[แก้]

พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2491 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 2 สมัย[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดชุมพร
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดชุมพร

รัฐมนตรี[แก้]

หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีครั้งแรกขณะยังมียศเป็น นาวาเอก เมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง[2] ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2493 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[3][4]

เมื่อคณะบริหารประเทศชั่วคราวของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำรัฐประหาร หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงอีกครั้ง ก่อนที่ในพ.ศ. 2494 จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[5] พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง[6] และย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[7][8][9]

พ.ศ. 2495 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง หลวงสุนาวินวิวัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พ.ศ. 2496 ได้ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2497 ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เนื่องจากสมาชิกชุดที่ให้ความไว้วางใจขณะเข้ารับหน้าที่สิ้นสุดลงตามวาระ[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา ๒๔๗๕ - ๒๕๐๒. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-04.
  5. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-04.
  6. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเรือตรี หลวงสุนาวินวิวัฒ)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  9. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 24 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-04.
  10. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-04.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๐, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗๒, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๓, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๓, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๐, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๕, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖