วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 9 เดือน 27 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อธิรัฐ รัตนเศรษฐ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ถาวร เสนเนียม |
ถัดไป | มนพร เจริญศรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 (1 ปี 8 เดือน 12 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชุติมา บุณยประภัศร |
ถัดไป | สินิตย์ เลิศไกร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (3 เดือน 29 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วีรศักดิ์ แซ่เฮง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2554–2566) |
คู่สมรส | ยลดา หวังศุภกิจโกศล (สมรส 2542) |
บุตร | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล อาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล วีรียา หวังศุภกิจโกศล |
ทรัพย์สินสุทธิ | 242.7 ล้านบาท (พ.ศ. 2568) |
วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น ป้อ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
ประวัติ
[แก้]วีรศักดิ์ เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรนายปักเอี่ยม นางลิ้มจวง แซ่เฮง ด้านครอบครัวสมรสกับนางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (ชื่อเดิม: วิชุดา จิตรพิทักษ์เลิศ) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542 มีบุตร 3 คน คือ สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, อาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล สส.นครราชสีมา และวีรียา หวังศุภกิจโกศล
สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
การทำงาน
[แก้]วีรศักดิ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับรางวัลกำนันแหนบทองคำ 2 ปี รวมถึงเคยเป็นประธานบริหารบริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮง จำกัด[2]
งานการเมือง
[แก้]วีรศักดิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 และได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาต่อมา
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับแต่งตั้งให้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จนกระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย และเตรียมตัววางมือทางการเมืองเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
- ↑ ส่องทรัพย์สิน "กำนันป้อ" หนี้มโหฬาร 1.1 หมื่นล้าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘วีรศักดิ์’ ไขก๊อก กก.บห. ภูมิใจไทยแล้ว แต่ยังไม่ลาออกสมาชิกพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๖, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
ก่อนหน้า | วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ถาวร เสนเนียม | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566) |
![]() |
สุรพงษ์ ปิยะโชติ มนพร เจริญศรี |
ชุติมา บุณยประภัศร | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิขย์ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564) |
![]() |
สินิตย์ เลิศไกร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอพิมาย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักธุรกิจชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- สกุลหวังศุภกิจโกศล