กรพจน์ อัศวินวิจิตร
กรพจน์ อัศวินวิจิตร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน 2545 – 28 พฤศจิกายน 2547 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม 2542 – 6 มกราคม 2544 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | สุวรรณ วลัยเสถียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรค | ชาติพัฒนา |
คู่สมรส | อัญชนา อัศวินวิจิตร[1] |
ศาสนา | พุทธ |
กรพจน์ อัศวินวิจิตร อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตผู้แทนการค้าไทย ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ประวัติ[แก้]
กรพจน์ อัศวินวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายอวยชัย กับ นางปราณี อัศวินวิจิตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย
การทำงาน[แก้]
กรพจน์ อัศวินวิจิตร เคยทำงานเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 จึงได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการ ธนาคารสหธนาคาร (เวลาต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยธนาคาร และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย)
งานการเมือง[แก้]
กรพจน์ อัศวินวิจิตร เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 (2 สมัย)[2] จากนั้นจึงได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโควตาของพรรคชาติพัฒนา[3] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติพัฒนา[4][5] ในปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในช่วงที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค[6] และเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 4[7] และต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2542 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ วิวาห์หวานชื่นมื่น บุตรสาว กก.ตรวจเงินแผ่นดิน สุดารัตน์ อัศวินวิจิตร & ถิรภัทร ฉัตรทวีศักดิ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ กรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีคนนอกคนล่าสุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินชื่นมื่น!! เปิดตัว"กรพจน์"หน.ทีมเศรษฐกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ เปิดรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ 2 พรรคดัง “ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน”[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ข้อมูลผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เก็บถาวร 2009-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- ผู้แทนการค้าไทย
- กรรมการการตรวจเงินแผ่นดินไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.