จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ | |
---|---|
![]() จุลพันธ์ ใน พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 7 เดือน 28 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | เศรษฐา ทวีสิน (2566–2567) พิชัย ชุณหวชิร (2567–ปัจจุบัน) |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (20 ปี 2 เดือน 23 วัน) | |
ก่อนหน้า | ยงยุทธ สุวภาพ |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 6 เดือน 2 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จิราพร สินธุไพร ชูศักดิ์ ศิรินิล เผ่าภูมิ โรจนสกุล โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 เมษายน พ.ศ. 2518 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2539–2541) ไทยรักไทย (2541–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ (สมรส 2553) |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | วิสาร เตชะธีราวัฒน์ (พ่อตา) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2518) ชื่อเล่น หนิม เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]จุลพันธ์เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2518 เป็นบุตรชายของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับนางเพ็ชรี (เตชะไพบูลย์) อมรวิวัฒน์
จุลพันธ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ (MBA.) จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ
ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับนางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย บุตรสาวของนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 9 สมัย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1]
งานการเมือง
[แก้]นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นครั้งแรก ในนามพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์[2] (ส.ส.คนเดียวของประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่)
ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [3]
ในปี พ.ศ. 2562 จุลพันธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 และเขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[4] มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายผลงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] ปีต่อมาเขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ทั้งนี้ เขาเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ (อีกคนคือ ศรีโสภา โกฏคำลือ)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[6] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[7][8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ น้องยิ้มควงจุลพันธ์วิวาห์ชื่นมื่น
- ↑ ""ยงยุทธ สุวภาพ" ยอมรับมติประชาชน ลงคะแนน เลือก "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "เมื่อแกนนำ นปช.ขึ้นเหนือ แฉแผนกลโกงเลือกตั้ง-ยึดอำนาจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
- ↑ “จุลพันธ์” อัดสภาล่มถี่ แต่นายกฯ ไม่ยุบสภา ยืนยันวิธีกดดันองค์ประชุมต่อ
- ↑ จุลพันธ์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ 8 ปี ประยุทธ์ หนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะ พุ่งกระฉูด
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ""เงินดิจิทัล 10,000 บาท" นายกฯสั่งเร่งศึกษาแนวทางกลับมาเสนอโดยเร็วที่สุด". ทีเอ็นเอ็น 16. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ เคาะตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท". โพสต์ทูเดย์. 5 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
ก่อนหน้า | จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ตนเอง เผ่าภูมิ โรจนสกุล |
![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 64) สมัยที่ 2 (3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
สันติ พร้อมพัฒน์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63) สมัยที่ 1 (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567) |
![]() |
ตนเอง เผ่าภูมิ โรจนสกุล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2518
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สกุลอมรวิวัฒน์
- สกุลเตชะไพบูลย์
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน