สาโรจน์ ชวนะวิรัช
สาโรจน์ ชวนะวิรัช ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กันยายน พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | เตช บุนนาค |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (78 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุด ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ในอีก 2 วันถัดจากวันรับตำแหน่ง
ประวัติ[แก้]
สาโรจน์ ชวนะวิรัช เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 จบการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นปี พ.ศ. 2531
การทำงาน[แก้]
นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เริ่มรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การทูต ระดับ 4 ประจำกองพิธีการ กรมพิธีการทูต เมื่อปี พ.ศ. 2510 กระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำสิงคโปร์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมต่างๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จนครบระยะเวลา 4 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2545[1]
สาโรจน์ ชวนะวิรัช ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551[2] แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) พ้นจากตำแหน่ง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเพียง 2 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2531 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[4]
- พ.ศ. 2540 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สาโรจน์ ชวนะวิรัช" ว่าที่ รมว.ต่างประเทศคนใหม่จาก ประชาชาติธุรกิจ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐)เล่ม ๑๑๔ ตอน ๑๑ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ หน้า๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย