อนุพงษ์ เผ่าจินดา
อนุพงษ์ เผ่าจินดา | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | สนธิ บุญยรัตกลิน |
ถัดไป | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | ไพศาล กตัญญู |
ถัดไป | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (69 ปี) |
คู่สมรส | กุลยา เผ่าจินดา |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
ชื่อเล่น | ป็อก |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองอาสารักษาดินแดน |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2553 (กองทัพบกไทย) พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน (กองอาสารักษาดินแดน) |
ยศ | ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย กองอาสารักษาดินแดน |
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา (ชื่อเล่น: ป็อก, เกิด 10 ตุลาคม 2492) สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [1] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน และรองประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้[2] ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย[3] ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร[4] รองประธานกรรมการคนที่สองในคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ [5]และอดีตผู้บัญชาการทหารบก
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรชายของ พ.อ.ประเชาวน์-นางศรีบุญ เผ่าจินดา มีชื่อเล่นว่า ป็อก ต่อมาได้สมรสกับนางกุลยา เผ่าจินดา มีบุตร-ธิดา 2 คน ชื่อ นายยุทธพงษ์ เผ่าจินดา และนางสาววิมลิน เผ่าจินดา วงดนตรีที่ชอบคือ เดอะบีทเทิลส์ ส่วนเครื่องดนตรีที่ชอบคือกลอง
พลเอก อนุพงษ์ มีน้องสาว 3 คน และน้องชายหนึ่งคน ได้แก่ นางสาว ชววรรณ เผ่าจินดา พลโท นายกองเอก ธนดล เผ่าจินดา พ.อ.หญิง อรุณวรรณ เผ่าจินดา และ พ.ท.หญิง ศิริวรรณ เผ่าจินดา
ประวัติการศึกษา[แก้]
- พ.ศ. 2508 : โรงเรียนพันธะศึกษา แผนกมัธยม
- พ.ศ. 2509 : โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
- พ.ศ. 2510 : โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
- พ.ศ. 2515 : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 21
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรชั้นนายร้อย โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2520 หลักสูตรชั้นนายพัน โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2525 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 61
- วุฒิการศึกษา
- พ.ศ. 2536 ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2544 รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสำหรับนักบริหาร) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2547 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี 2546
- พ.ศ. 2556 ปริญญาโทมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิชาคอมมิวนิสต์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติรัสเซีย
ประวัติทางราชการและทางการเมือง[แก้]
เขาเป็นหนึ่งในทหารผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยขณะนั้น พล.อ.อนุพงษ์ อยู่ในยศ พลโท (พล.ท.) และเป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 ถูกมองว่าแม้จะเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10) เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวก แต่กลับไม่เข้าร่วมหรือเห็นดีเห็นชอบด้วยกับการกระทำของกลุ่ม จึงถูกมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย จนถูกเรียกว่าเป็น ตท.10/1
ในคืนเกิดเหตุรัฐประหาร พล.ท.อนุพงษ์ เป็นผู้ดำเนินการ เพราะกองทัพภาคที่ 1 มีขอบเขตหน้าที่ดูแลกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางอยู่แล้ว โดยใช้แผน "ปฐพี 149" โดยวางกำลังเป็นจุด วางเป้าหมาย รวมถึงจัดกำลังจากหน่วยทหารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมีกองกำลังจากกองทัพภาคที่ 3 ของ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นฝ่ายประสาน โดยการดำเนินการครั้งนี้กระทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังอย่างที่สุด เพราะเป็นการเดิมพันด้วยชีวิต หากการไม่สำเร็จก็จะกลายเป็นกบฏในทันที โดยผู้ที่คิดวางแผนให้ใช้ริบบิ้นเหลืองผูกปลายปืนก็คือ พล.ท.อนุพงษ์ เอง เพื่อเป็นการป้องกันกองกำลังของฝ่ายที่ต่อต้าน
หลังจากเหตุการณ์ พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เลื่อนยศเป็น พล.อ. ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก หรือที่เรียกว่า 5 เสือ ทบ. และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[6](คปค.)คู่กับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ คมช.
พล.อ.อนุพงษ์ เป็นนายทหารที่อยู่ในสายงานคุมกำลังรบมาตั้งแต่เริ่มรับราชการใหม่ เคยเป็นผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทหารเสือราชินี (ผบ.ร.21 รอ.) เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) ก่อนจะได้เลื่อนเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และแม่ทัพภาคที่ 1
พล.อ.อนุพงษ์ ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักสูตรทางด้านการทหารและได้จบปริญญาตรีทางด้าน รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และจบปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26
พล.อ.อนุพงษ์ได้รับเลือกให้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (คนที่ 36) เมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2550 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พล.อ.อนุพงษ์ได้รับตำแหน่งเป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน[7] พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 และรับตำแหน่งผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 4 กันยายน[8] พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551
ในปี พ.ศ. 2552 เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[9]
เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 16 เมษายน 2553 ถึง 30 กันยายน 2553[10] และเป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ คณะกรรมการในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เขาจึงเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่ดำรงตำแหน่งนี้นานที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตาม พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่งตั้งขึ้น เขาดำรงตำแหน่งดังกล่าว 5 เดือน 23 วัน สื่อมวลชนเคยรายงานว่า ระหว่างที่เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เอกสารหลายอย่างต้องรอเขาอนุมัติ แทนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีสามารถอนุมัติได้
หลัง รัฐประหาร พ.ศ. 2557[แก้]
วันที่ 30 สิงหาคม 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[11] วันที่ 14 ตุลาคม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ[12] ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีฐานะเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนโดยตำแหน่ง เขายังเป็น คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
ในวันที่ 14 ตุลาคม 2557 เขาออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 591/2557 แต่งตั้งคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี พันเอก เปรมจิรัสย์ ธนไทยภักดี และในวันที่ 20 ตุลาคม 2557 เขาออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 604/2557 แต่งตั้งคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย นายสายสุรีย์ บุนนาค[13]
ในวันที่ 28 ตุลาคม 2557 เขาออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 633/2557 แต่งตั้งคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธี มากบุญ) ประกอบด้วย นายอมร เลาหมนตรี นายวิชา นิลเพชร์พลอย นายธวัชชัย ฟักอังกูร ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ นายวสันต์ วรรณวโรทร[13]
ในวันที่ 15 มกราคม 2558 เขาออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 32/2558 แต่งตั้งคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย พลเอกไตรรัตน์ รังคะรัตนะ นายกองเอกประชา เตรัตน์ นายวิทยา ฉายสุวรรณ นายยงยุทธ โกเมศ พันตำรวจเอก หม่อมหลวง สันธิกร วรวรรณ พันตำรวจเอก วุฒิพงษ์ นาวิน[13]
ในวันที่ 3 มีนาคม 2558 เขาออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 163/2558 แต่งตั้งคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย นายกองเอก ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย[13]
ในวันที่ 29 เมษายน 2559 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ลงนามในคำสั่งกองบัญชาการกองรักษาดินแดนที่ 57/2559 เรื่องจัดตั้งส่วนราชการในกองบัญชาการกองรักษาดินแดน จัดตั้ง กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559[14] โดยเปลี่ยนชื่อจาก กองร้อยบังคับการและบริการส่วนหน้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อควบคุมความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยโดยมี นายกองตรี ปารเมศ เห้งสวัสดิ์ เป็น ผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 คนแรก
ในวันที่ 12 ธันวาคม 2559 เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนแรกที่ได้เป็น ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย[3] ตามกฎหมายพรบ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่ เป็น พลเอก นายกองใหญ่ อนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อ พ.ศ. 2557 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน [15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2
เหรียญราชการชายแดน
เหรียญจักรมาลา
ดูเพิ่ม[แก้]
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๓๑๐ ง พิเศษ หน้า ๔๒ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/099/6.PDF
- ↑ 3.0 3.1 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/104/1.PDF
- ↑ รายงานประจำปี 2557 สภาวิศวกร
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/051/1.PDF
- ↑ http://www.thethailaw.com/law15/lawpdf/2/83/law25412550/20.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/144/2.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/148/3.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/056/4.PDF
- ↑ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_give/order93-12749p38.pdf
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อยศ อส
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 http://www.gad.moi.go.th/nsl-17-03-58-5468.pdf
- ↑ http://www.dopasakonnakhon.go.th/pdf/1464319968.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/B/024/9.PDF
อ้างอิง[แก้]
- กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา 49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
- ประวัติอย่างย่อของ พล.อ.อนุพงษ์ ผบ.ทบ.คนที่ 36
- ดวง พล.อ.อนุพงษ์ในเว็บไซต์หมอนิด
ก่อนหน้า | อนุพงษ์ เผ่าจินดา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 61) (31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน | ![]() |
![]() ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553) |
![]() |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกเหรียญจักรมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- แม่ทัพภาคที่ 1
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน