อุดมเดช สีตบุตร
อุดมเดช สีตบุตร | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ถัดไป | ชัยชาญ ช้างมงคล |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | |
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ถัดไป | ธีรชัย นาควานิช |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ถัดไป | ธีรชัย นาควานิช |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | คณิต สาพิทักษ์ |
ถัดไป | ไพบูลย์ คุ้มฉายา |
รองผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ราชองครักษ์พิเศษ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2558[1] | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (63 ปี) |
บิดา | พลเอกเลิศรบ สีตบุตร |
มารดา | ประณีต สีตบุตร |
คู่สมรส | วิภาดา สีตบุตร |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
ชื่อเล่น | โด่ง |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ปีปฏิบัติงาน | 2521 - 2558 |
ยศ | ![]() |
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ราชองครักษ์พิเศษ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อุปนายกสภาทหารผ่านศึกคนที่หนึ่ง[2] เป็นอดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ,อดีตผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 38, อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด[3] ประธานกรรมการ มูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, อดีตประธานคณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก, หัวหน้าศูนย์ติดตามสถานการณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ[4]
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2498 ชื่อเล่น โด่ง; สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า บิ๊กโด่ง ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพลเอก เลิศรบ สีตบุตร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2515 กับนางประณีต สีตบุตร เป็นบุตรชายคนสุดท้องของพี่น้อง 6 คน ดังนี้
1. นายชาญชัย สีตบุตร
2. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร
3. นางสาวอัญชลี สีตบุตร
4. นางฤดีรัตน์ สีตบุตร
5. นางศิรินทิพย์ สีตบุตร
6. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร
ครอบครัว[แก้]
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร สมรสกับ นางวิภาดา สีตบุตร กรรมการบริหาร บริษัท มาเลศฟู้ด จำกัด[5]มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ ร้อยตรีหญิงจุฑาภัค สีตบุตร และ นักเรียนนายร้อย ภูวเดช สีตบุตร
การศึกษาและการอบรม[แก้]
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม , พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ , นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอกประสูตร รัศมีแพทย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ ๖๕
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- หลักสูตร Integrated Pest Management ประเทศอิสราเอล
- หลักสูตร Management Broadcast Program ประเทศสหรัฐอเมริกา
การรับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2521 ผู้บังคับหมวดกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2529 ฝอ.๓ ร.๒๑ พัน.๓ รอ.
- พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร
- พ.ศ. 2534 หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2545 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2547 รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2549 เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2550 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11
- พ.ศ. 2551 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
- พ.ศ. 2552 รองแม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2553 แม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2555 เสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2556 รองผู้บัญชาการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 38
- 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558[6]ราชองครักษ์พิเศษ
งานการเมือง[แก้]
อุดมเดช สีตบุตร ได้รับแต่งตั้งแป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] และเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกหน้าที่หนึ่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2557 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้น เหรียญรามมาลา (ร.ม.)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภท 1
เหรียญราชการชายแดน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/267/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/014/1.PDF
- ↑ บิ๊กตู่สละเก้าอี้ปธ.อาร์มี่ ส่งต่อตำแหน่งให้ผบ.ทบ. คนใหม่
- ↑ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1439882500
- ↑ เผยโฉมร้านมาเลศ'ภรรยาอุดมเดช' โชว์รายได้9.5ล.พนง.ยันเพิ่งเปิด2ปี-อาหารจานละ80ขึ้น
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ, เล่ม 132 ตอนพิเศษ 267 ง 27 ตุลาคม 2558 หน้า 1-2
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม 131 ตอนที่ 22 ข 7 ตุลาคม 2557 หน้า 2.
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.
- สมาชิกเหรียญจักรมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- แม่ทัพภาคที่ 1
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- นักการเมืองไทย