สังวรณ์ สุวรรณชีพ
(เปลี่ยนทางจาก หลวงสังวรยุทธกิจ)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล (พฤษภาคม 2020) (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร) |
พลเรือตรี สังวรณ์ สุวรรณชีพ ป.ม. | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (71 ปี) |
บิดา | สุด สุวรรณชีพ |
มารดา | สอน สุวรรณชีพ |
คู่สมรส | คุณหญิง เฉลิม สุวรรณชีพ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนนายเรือ |
สังวรณ์ สุวรรณชีพ | |
---|---|
ประจำการ | 2464-2490 |
ชั้นยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
พลเรือตรี สังวรณ์ สุวรรณชีพ (หลวงสังวรยุทธกิจ) (14 กรกฎาคม 2444–7 ตุลาคม 2515) นักการเมืองและทหารเรือชาวไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม สารวัตรใหญ่ทหาร เจ้ากรมเตรียมการทหาร และหนึ่งในสมาชิก คณะราษฎร
ประวัติ[แก้]
พลเรือตรีสังวรณ์เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 ที่ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ นายสุด และ นางสอน สุวรรณชีพ จบการศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ โรงเรียนนายเรือ
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิง เฉลิม สุวรรณชีพ มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 12 คน
รับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2487 - กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งสารวัตรใหญ่ทหาร[1]
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 - ควบตำแหน่งเจ้ากรมเตรียมการทหารอีกตำแหน่งหนึ่ง [2]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 - พ้นจากตำแหน่งเจ้ากรมเตรียมการทหาร[3]
- 30 เมษายน พ.ศ. 2490 - สำรองราชการกองบังคับการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและรักษาราชการสารวัตรใหญ่ทหารอีกตำแหน่งหนึ่ง[4]
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - พ้นจากสำรองราชการกองบังคับการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รักษาราชการสารวัตรใหญ่ทหาร และออกจากประจำการ[5][6]
ยศ[แก้]
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2464 - เรือตรี [7]
- 19 เมษายน พ.ศ. 2467 - เรือโท[8]
- - เรือเอก
- 1 เมษายน พ.ศ. 2477 - นาวาตรี [9]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - นาวาโท [10]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2483 - นาวาเอก [11]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - พลเรือตรี[12]
บรรดาศักดิ์[แก้]
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - หลวงสังวรยุทธกิจ ศักดินา ๘๐๐[13]
งานการเมือง[แก้]
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[14]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ๒๔๗๙ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. ๒๔๘๔ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ คำสั่งทหารแห่งประเทศไทย ที่ ๑๑/๙๐ เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและออกจากประจำการ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและออกประจำการ
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๙)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๔๐๘)
- ↑ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๓๗)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๕๓)
- ↑ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๒๙๐)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๓๙)
- ↑ พระราชกฤษฎีกา ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๗๖ (หน้า ๘๒๑)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (หน้า ๗๑๑)
- ↑ แจ้งความ พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน (หน้า ๒๙๙๑)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๑๙๔๖)