ข้ามไปเนื้อหา

สมชัย วุฑฒิปรีชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชัย วุฑฒิปรีชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
คู่สมรสคำผง วุฑฒิปรีชา

สมชัย วุฑฒิปรีชา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49) และเป็นอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

สมชัย วุฑฒิปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ระดับปริญญาโทด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา นอกจากนั้นยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์อีกหลายสถาบัน ได้แก่ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

การทำงาน

[แก้]

สมชัย วุฑฒิปรีชา เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่มีนายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (จากการแต่งตั้ง) และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ต่อมาเขาได้โอนย้ายมารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ จนได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (กปช.) และเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในระหว่างปี พ.ศ. 2533-2535[1] และเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2535-2539 และ พ.ศ. 2539-2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[2][3]

นายสมชัย เคยดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันราชภัฏนครปฐม รวม 4 วาระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-15.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๐ ง หน้า ๘๑๕๓, ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๑, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๕, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒