สำเภา ประจวบเหมาะ
สำเภา ประจวบเหมาะ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
เสียชีวิต | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (84 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
สำเภา ประจวบเหมาะ (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 9 สมัย
ประวัติ[แก้]
สำเภา ประจวบเหมาะ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475[1] เป็นบุตรของนายพิเคราะห์ และ นางกิมลี้ ประจวบเหมาะ[2] จบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนประจวบวิทยาลัย[3]
งานการเมือง[แก้]
สำเภา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกต่อกันรวม 9 ครั้ง
สำเภา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.52)[4]
ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายมนตรี ปาน้อยนนท์ จากพรรคประชาธิปัตย์ และวางมือทางการเมืองในที่สุด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
สำเภา ประจวบเหมาะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 9 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
หลังจากวางมือทางการเมือง[แก้]
ปี พ.ศ. 2552 ถูกศาลล้มละลายกลาง สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย [5]
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
สำเภา ประจวบเหมาะ เสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สิริอายุรวม 84 ปี[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ประวัติย่อ นายสำเภา ประจวบเหมาะ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 44ง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
- ↑ ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์เด็ดขาดอดีต ส.ส.ตลอดกาล 9สมัย-ลูกชายอดีตนายกเล็ก ประจวบฯ
- ↑ สิ้น 'สำเภา ประจวบเหมาะ' อดีต ส.ส.ประจวบฯ 9 สมัย ด้วยวัย 84
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลจากอำเภอกุยบุรี
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนประจวบวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.