ทนง พิทยะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | อำนวย วีรวรรณ |
ถัดไป | โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข |
ถัดไป | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (73 ปี) จังหวัดสุพรรณบุรี |
คู่สมรส | มธุรส พิทยะ |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ (ชื่อเดิม ทนง ลำใย[1][2]) (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็น ประธานกรรมการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เป็นบุตรของนายเสงี่ยม กับ นางสายทอง ลำใย และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ และ รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 และการลดค่าเงินบาทของประเทศไทย[3]กรรมการมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา สมรสกับ นาง มธุรส พิทยะ มีบุตร 3 คน ได้แก่ นางสาว วิชชุญา พิทยะ บุตรสาวคนโต นาย ธราธร พิทยะ บุตรชาย นางสาว ศรัญญา พิทยะ บุตรสาวคนเล็ก เรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การศึกษา[แก้]
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ หรือที่รู้จักกันในาม ดร. ทนง พิทยะ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับ สนธิ ลิ้มทองกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ และระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน[แก้]
งานราชการ[แก้]
ทนง พิทยะ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งคณบดีในคณะดังกล่าว
งานธุรกิจ[แก้]
ทนง พิทยะ เคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ บริษัท ไทยเอเซีย แปซิฟก บริวเวอรี่ จำกัด และเป็นประธานกรรมการ บริษัท อวีว่า ประกันภัย (ไทย) จำกัด
งานการเมือง[แก้]
ทนง พิทยะ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[4] ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากได้รับตำแหน่งดังกล่าวเพียง 6 เดือน จึงย้ายมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สลับกันกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2546 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติย่อ นายทนง (ลำใย) พิทยะ
- ↑ ทนง ลำใย: เศรษฐศาสตร์กับประชากร
- ↑ “ทนง พิทยะ” ลดค่าเงินบาท ชื่อนี้ไม่มีพลาด
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
- เครือชินวัตร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์