ทรงศักดิ์ ทองศรี
ทรงศักดิ์ ทองศรี ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุธี มากบุญ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ 2551 – 9 กันยายน 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม |
ถัดไป | โสภณ ซารัมย์ วราวุธ ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2501 (62 ปี) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | แว่นฟ้า ทองศรี |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | ![]() |
ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี (20 เมษายน 2501 — ) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[3] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 7 สมัย
ประวัติ[แก้]
ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี (ชื่อเล่น : ป้อม) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2501 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียและระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[4]
ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี ซึ่งในขณะนั้นนายทรงศักดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นอีก 36 คน[5]
การทำงาน[แก้]
ทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6]
ทรงศักดิ์ เป็นหนึ่งในสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 3[8] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 6[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย (จำนวน ๙ ราย)
- ↑ นักการเมืองปริญญาเอก?!!
- ↑ รายชื่อกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาฯ
- ↑ เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร “พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ” ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน