พินิจ จันทรสุรินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พินิจ จันทรสุรินทร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าอาณัติ อาภาภิรม
ถัดไปโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสจุไรรัตน์ จันทรสุรินทร์

ดร.พินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางหลายสมัย

ประวัติ[แก้]

พินิจ จันทรสุรินทร์ เกิดมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็นบุตรของนายนิคม กับนางจันทร์คำ จันทรสุรินทร์[1]สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ด้านการจัดการโรงแรม จาก มหาวิทยาลัยคอร์แนล[2] และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก ด้านการเมืองการปกครอง จาก มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น สมรสกับนางจุไรรัตน์ จันทรสุรินทร์ มีบุตร 4 คน คือ นายชวนิต จันทรสุรินทร์ นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ และดร.พิสุทธิ์ จันทรสุรินทร์ ซึ่งในจำนวนนี้มีบุตรถึง 2 คน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางคือนายจรัสฤทธิ์ และนายอิทธิรัตน์ บุตรอีก 1 คนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดในจังหวัดลำปางคือดร.พิสุทธิ์

งานการเมือง[แก้]

ดร.พินิจ จันทรสุรินทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม แต่ในสมัยต่อมา พ.ศ. 2519 สอบตก และได้รับเลือกกลับเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติประชาชน และย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2526 นายพินิจได้รับเลือกตั้งทุกสมัย ตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคต่างๆ อาทิ พรรคสหประชาธิปไตย พรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย โดยไม่เคยสอบตกเลย

ในปี พ.ศ. 2523 เขาและคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่านายบรรหาร ศิลปอาชา ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยกคำร้องดังกล่าว[3]

ในปี พ.ศ. 2533 นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[4] และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร[5]

ในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย กระทั่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรค[6]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 18[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

พินิจ จันทรสุรินทร์ กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งหลังการเสียชีวิตของอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.จังหวัดลำปาง พรรคเพื่อไทย บุตรชาย โดยนายพินิจได้รับการกำหนดตัวบุคคลจากพรรคเพื่อไทยให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม แต่เมื่อถึงวันสุดท้ายของการรับสมัครปรากฏว่านายพินิจ ไม่ได้ยื่นสมัครแต่อย่างใด[8]

และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 อีกครั้ง แทนนายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ที่ถึงแก่อนิจกรรม แต่แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
  3. คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เรื่อง คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญระหว่าง นายพินิจ จันทรสุรินทร์ และพวก กับนายบรรหาร ศิลปอาชา
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-04.
  7. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  8. "เพื่อไทย" เหวอ วืดเลือกตั้งซ่อมลำปาง "พินิจ" โดดหนี เม้าท์หึ่งพลังดูด
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๘, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๙