นิพนธ์ บุญญามณี
นิพนธ์ บุญญามณี ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุธี มากบุญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (62 ปี) จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | นางกัลยา บุญญามณี |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | ![]() |
นิพนธ์ บุญญามณี เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา รองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน รวม 8 สมัย
ประวัติ[แก้]
นิพนธ์ บุญญามณี เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดสงขลา เป็นของบุตรนายเฉี้ยง และนางจิ้ว บุญญามณี[2]
นิพนธ์เข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดนาทับ โรงเรียนถนนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา ระดับเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา), ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านครอบครัว นิพนธ์สมรสกับ นางกัลยา บุญญามณี ปลัดเทศบาลนครสงขลา มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นางสาวนิธิยา บุญญามณี นายสรรเพชญ บุญญามณี และนายนิธิกร บุญญามณี
การทำงาน[แก้]
นิพนธ์ บุญญามณี เป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย (พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2533) เป็นประธานสภาจังหวัดสงขลา ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือ 35/1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมารวม 5 สมัย คือ 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ/สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย (2548, 2550, 2554)[3] รวมทั้งสิ้นเป็น ส.ส. 8 สมัย
นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2537 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2541 และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2542[4] ประจำตัวพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และ พ.ศ. 2543 ประจำตัวนายบัญญัติ บรรทัดฐาน
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารพรรคใหม่ หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แล้ว นายนิพนธ์มีชื่อว่าอาจจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่นายนิพนธ์ก็ได้ขอถอนตัวออกไป ตำแหน่งจึงตกอยู่ที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ นิพนธ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค
ในการประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมได้มีมติเลือก นายนิพนธ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค พร้อมกับ ดร.ศุภชัย ศรีหล้า และ นายนราพัฒน์ แก้วทอง[5][6]
ในการทำงานฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้น ซึ่งนายนิพนธ์ ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเงา
เขาลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2562 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา[7] เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2542 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
ยศกองอาสารักษาดินแดน[แก้]
- พ.ศ. 2563 ว่าที่นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับพระราขทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/D/088/184.PDF
- ↑ "นิพนธ์-ศุภชัย-นราพัฒน์"นั่งรองเลขาฯ ปชป. หลัง 3 คู่แข่งถอนตัว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ได้เป็นรัฐมนตรีแน่นอน! “นิพนธ์” ลาออก นายก อบจ. สงขลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๔,๘๙๖ ราย) เล่ม 116 ตอนที่ 20ข วันที่ 2 ธันวาคม 2542
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสงขลา
- นักกฎหมายชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน