เอนก สิทธิประศาสน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนก สิทธิประศาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2472
จังหวัดเชียงราย
เสียชีวิต17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (88 ปี)
คู่สมรสรัตนมณี สิทธิประศาสน์

เอนก สิทธิประศาสน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองเอก

ประวัติ[แก้]

เอนก สิทธิประศาสน์ (ติ๊ก) เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้องจำนวน 5 คน ของ หลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย บุษบรรณ์) ต่อเปลี่ยนเป็น หลวงสิทธิประศาสน์ (สิทธิ์ สิทธิประศาสน์) กับนางสิทธิประศาสน์ (ตุ้ย) คนหนึ่งในนั้นคือ นางนงนุช ฤทธิประศาสน์ ภริยานายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ อดีตรัฐมนตรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนวังสมเด็จบูรพา และโรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่น1[1] และปริญญาโททางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา รวมถึงผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางรัตนมณี (วิมลภักตร์) สิทธิประศาสน์ (ภมรพล) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ นายมนู สิทธิประศาสน์ นายนที สิทธิประศาสน์ และนางสิริวิมล สิทธิประศาสน์

การทำงาน[แก้]

เอนก สิทธิประศาสน์ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนครศรีธรรมราช เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในปีถัดมา ก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.49)[3]

เอนก เคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเป็นรองประธานกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา[4]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

เอนก ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สิริรวมอายุ 88 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดธาตุทอง

ยศกองอาสารักษาดินแดน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การจัดตั้งสมาคมนิสิต เก่ารัฐศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2553, จาก http://www.singhdum.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539009022
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา โชว์ฝีมือปรุงอาหารเจ ในงานเทศกาลอาหารเจนานาชาติ เซ็นทรัล ทาวน์ รัตนาธิเบศร์[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/101/1.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑